หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป


เนื่องจากกล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ มีราคาแพง และค่อนข้างบอบบาง ดังนั้นย่อมต้องการการระมัดระวังบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
      
  1. การจับถือกล้องถ่ายรูป ควรปฏิบัติดังนี้ คือ

                1.1 ใช้สายสะพายกล้องคล้องคอเสมอ เพื่อป้องกันการตกหล่น กระทบกระแทก อันอาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้

                1.2 ใช้มือซ้ายรับน้ำหนักตัวกล้องในขณะถ่ายรูป ให้ฐานกล้องอยู่บนอุ้มมือนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้มือข้างซ้ายใช้สำหรับแต่งความคมชัด และรูปรับ รับแสงที่ต้องการ

                1.3 ใช้มือขวาจับตัวกล้องด้านขวามือ หัวแม่มือใช้ในการเลื่อนฟิล์มขึ้นชัดเตอร์ และนิ้วชี้กดลั่นไก นอกจากนั้นนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ยังใช้ปรับเปลี่ยน ความเร็วชัดเตอร์บนตัวกล้อง

                1.4 ทิ้งน้ำหนักตัวให้อยู่ระหว่างเท้าทั้งสอง โดยแยกเท้าให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อเป็นหลักอันมั่นคงในการทรงตัว

                1.5 แขนทั้งสองแขนแนบชิดลำตัว แต่ไม่เกร็งทั้งนี้เพื่อให้กล้องนิ่งมือไม่สั่น เพราะถ้ามือสั่นแล้วภาพที่ได้จะไหว

                1.6 ในบางกรณีอาจต้องการยืนพิงผนัง ต้นไม้ รั้ว เป็นต้น เพื่อให้ได้ภาพสวยงาม โดยเฉพาะในเวลาถ่ายรูปที่แสงไม่พอ จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัดเตอร์ต่ำ ๆ ตั้งแต่ 1/30 ลงมา การจับถือกล้องให้นิ่งทำได้ลำบาก จำเป็นต้องใช้เทคนิคดังกล่าว และใช้สายลั่นไกแทนการกดที่ปุ่มลั่นไกก็ได้

                1.7 ในขณะกดชัดเตอร์ถ่ายรูปกลั้นหายใจไว้ชั่วครู่ จนกว่าการถ่ายรูปจะเสร็จสิ้นควรระลึกเสมอว่า ปุ่มกดชัดเตอร์จะทำงาน เมื่อถูกกดลงไปประมาณ 2 ใน 3 และถ้าต้องการให้กล้องนิ่งมั่นคงยิ่งขึ้นอาจใช้สายกล้องคล้องคอ แล้วพันที่มือขวาอีกครั้งหนึ่ง จะช่วยในการยึดกล้องได้ดีมาก

2. ส่วนการเก็บรักษากล้องและอุปกรณ์ควรปฏิบัติดังนี้ คือ

                2.1 ใช้กล้องอย่างระมัดระวัง การปรับเปลี่ยนปุ่มความไวแสงและขนาดรูรับแสงต้องทำอย่างช้า ๆ เพราะกล้อง อาจชำรุดเสียหายถ้ากลไกต่าง ๆ ไม่เข้าที

                2.2 ปิดสวิทส์เครื่องวัดแสงทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน

                2.3 ไม่วาง หรือเก็บกล้องในที่สั่นสะเทือนเพราะอาจทำให้กล้องเสียหายบุบสลายหรือกลไกบางส่วนไม่ทำงานได้

                2.4 ห้ามใช้น้ำมันหยอดทุกส่วนของกล้อง มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สามารถหยอดน้ำมันได้ ซึ่งควรถอดชิ้นนั้น ๆ มาหยอดน้ำมันข้างนอกแต่ถ้าหากไม่แน่ใจ ไม่ควรหยอดน้ำมันเอง

                2.5 เมื่อเลิกใช้งานต้องปรับวงแหวนความคมชัดของเลนส์ ไว้ที่ระยะไกลสุดขอบฟ้า ที่เรียกว่า ระยะอินพินิติ้ (Infinity)

                2.6 เมื่อเลิกใช้งานต้องปรับรูรับแสงให้มีขนาดโตเต็มที่เช่นเลนส์ที่มีความไว F 1.2 ต้องปรับไว้ที่ F1.2 ทั้งนี้เพื่อลดการทำงานของสปริงบังคับหน้ากล้อง

                2.7 มื่อเลิกใช้งานต้องตั้งความเร็วชัดเตอร์ไว้ที่ B (Brief หรือ Bulb) และไม่ควรขึ้นชัตเตอร์ เอาไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน

                2.8 ศึกษาคู่มือการใช้กล้องให้เข้าใจถ่องแท้

                2.9 ควรเก็บกล้องไว้ในซองหรือกระเป๋ากล้องเสมอ

                2.10 ไม่ควรเก็บกล้องไว้ในที่ ๆ ร้อนจัด เช่น ในรถยนตร์ หรือที่ชื้นเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดราขึ้นได้

        2.11 ควรมียากันชื้นหรือพวกซิลิกอนเจล ติดอยู่ภายในกระเป๋ากล้องเสมอ

                2.12 ไม่ควรเก็บกล้องรวมกับเสื้อผ้า เพราะความชื้นสูงอาจทำให้กล้องและเลนส์เกิดเชื้อราได้ง่าย

                2.13 ระมัดระวังอย่าให้ละอองน้ำ หรือน้ำทะเลสัมผัสกล้อง ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำจืดที่สะอาด ๆ พอหมาด ๆ เช็ดตัวกล้องทันที และถ้าถูกเลนส์ต้องใช้น้ำยาเช็ดเลนส์ และกระดาษเช็ดเลนส์ทำความสะอาดทันทีเช่นกัน

                2.14 การเก็บกล้องไว้นาน ๆ โดยไม่ได้ใช้ต้องนำออกตรวจสอบการทำงานอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยปฏิบัติเหมือนการถ่ายรูปปกติ หรืออาจจะนำมาเพียงขึ้นชัดเตอร์ และกดลั่นไกเพื่อให้ระบบการทำงาน ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ ๆ

                2.15 ถ้ากล้องเกิดการชำรุดขัดข้องอย่าซ่อมด้วยตนเองถ้าท่านไม่รู้วิธีการซ่อมอย่างจริงจัง ควรจัดส่งให้ช่างผู้ชำนาญงานได้ ตรวจซ่อมให้ และโปรดระลึก
เสมอว่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

การจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ



การจัดองค์ประกอบจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญหลักและสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพ เพราะองค์ประกอบ สามารถดึงดูดความสนใจ สามารถชี้แจงบอกเรื่องราวในภาพและเน้นความคัญในสิ่งที่เราสื่อออกมา เพราะฉะนั้น การจัดองค์ประกอบได้แบบถูกต้องและลงตัวนั่นคือ การสื่อความหมายโดยที่แทบจะไม่ต้องบรรยายเลยก็ว่าได้ การจัดองค์ประกอบ ต้องมีการแบ่งความสมดุลในภาพเว้นระยะไม่ให้เกิดความอึดอัดเวลามองภาพเช่น สายตา การชี้ เหมือนกับการจ้องมองของสัตว์ หรือ อาการหวาดกลัว หลบหลีก ที่จะฟ้องให้มองเห็นถึงความน่ากลัว

DEPTH OF FIELD 
 เทคนิคการกำหนดรูรับแสงเพื่อกำหนดระยะชัดของภาพแบบต่าง ๆ การถ่ายภาพลักษณะนี้เพื่อเน้นระยะชัด ผู้ถ่ายภาพควรต้องทำความเข้าใจในการกำหนดค่าของรูรับแสงของเลนส์ เพื่อให้ได้ภาพตามต้องการ
ค่าของรูรับแสง จะมีตั้งแต่กว้างสุด คือ 1.2 4 5.6 8 11 16 22 ค่าตัวเลขยิ่งน้อยรูรับแสงยิ่งกว้าง ระยะชัด ของภาพจะสั้นลง หรือที่เรียกว่า ชัดตื้น ค่าของตัวเลขยิ่งมาก รูรับแสงจะแคบลง ยิ่งแคบมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ภาพ เกิด ระยะชัดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

LAND SCAPE
การถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือที่เรียกว่าภาพวิวให้ประทับใจ  หรือการถ่ายภาพภูมิทัศน์ นิยมถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง เพื่อให้เห็นพื้นที่ในบริเวณกว้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ โดยปกติใช้เลนส์มาตรฐานก็ได้เช่นกัน การถ่ายภาพลักษณะนี้ ควรใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อให้เกิดระยะชัดมากที่สุด ควรคำนึงถึง ฉากหน้า และฉากหลังของภาพ และการวางจุดสนใจ (ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในเรื่องของการจัดองค์ประกอบภาพ) หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ฟิลเตอร์โพราไรซ์ เพื่อให้สีของภาพอิ่มตัวขึ้น ท้องฟ้าเข้มขึ้นทำให้ภาพน่าสนใจ

STOP ACTION  ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเพื่อ หยุดสิ่งที่เคลื่อนไหว 
 เป็นเทคนิคการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง เพื่อให้ภาพที่เคลื่อนไหวดูหยุดนิ่ง โดยใช้ตั้งแต่ 1/250 วินาทีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านหน้าเลนส์ของวัตถุ 
การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องวางแผนให้ดี ปรับโฟกัส และวัดแสงไว้ล่วงหน้า อาศัยการกะระยะ และการตัดสินใจที่ฉับไวในการถ่ายภาพ แต่ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพมีความงาม และมีคุณค่า

PANNING 
เทคนิคเคลื่อนกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนไหว แสดงให้เห็นความเร็ว และ แรง เป็นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเหมือนกับภาพ Action แต่จะใช้เทคนิคการแพน หรือการส่ายกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนที่ และกดชัตเตอร์ขณะที่ส่ายกล้อง ทำให้วัตถุที่ต้องการเน้นนิ่ง เห็นรายละเอียดมากยิ่งขึ้น แต่ฉากหน้าและฉากหลังที่นิ่งอยู่กับที่ลู่ตามวัตถุ เป็นที่นิยมมากในการถ่ายภาพกีฬาประเภทต่าง ๆ

CLOSE UP 
เทคนิคการถ่ายภาพใกล้ เห็นรายละเอียดชัด ๆเป็นการถ่ายภาพระยะใกล้ เพื่อเน้นรายละเอียด หรือการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก สามารถถ่ายโดยใช้ฟิลเตอร์ Close up ซึ่งมีลักษณะเป็นเลนส์ขยาย จำหน่ายเป็นชุด ๆ ละ 3 อัน สามารถต่อกันได้ แต่ต้องระวังในการถ่ายเพราะ ภาพจะชัดเฉพาะ ตรงกลางภาพ ส่วนด้านขอบของภาพจะไม่ชัดเพราะความโค้งของเลนส ์ ยิ่งใช้ฟิลเตอร์หลายตัวยิ่งลดความคมชัดของภาพลง
ถ้าต้องการคุณภาพดี ควรใช้เลนส์มาโคร หรือเลนส์ถ่ายใกล้ จะให้รายละเอียดของภาพมากยิ่งขึ้น 
การถ่ายภาพต้องระวังอย่าให้สั่นไหวเด็ดขาด ควรใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์เข้าช่วย หรือพยายามใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง จะช่วยได้มาก

SILHOUETTE  
ถ่ายภาพย้อนแสง เพื่อเน้นรูปร่าง หรือเงาดำแปลกตาน่าสนใจดี เป็นเทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสง โดยจะไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ควรถ่ายในช่วงเช้า หรือช่วงเย็น แสงแดดเริ่มอ่อน อย่าวัดแสงกับดวงอาทิตย์ตรง ๆ ควรวัดแสงที่ท้องฟ้า เฉียง 45 องศา กับดวงอาทิตย์ และลดรูรับแสงให้แคบลง 2-4 Stop หรือถ้าเป็นเวลาเย็นมาก สามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้ ก็วัดแสงที่ดวงอาทิตย์ได้เลย 
การถ่ายภาพปรเภทนี้ต้องระวังเรื่องฉากหน้าและฉากหลังด้วย เพราะจะทำให้รบกวนภาพทำให้ภาพดูรกตา

NIGHT PICTURE 
ราตรีอันงดงาม บันทึกความประทับใจบนแผ่นฟิล์ม ตราบนิรันด์ หรือการถ่ายภาพไฟกลางคืนที่สวยงาม จะได้ภาพที่แปลกตา มาดูวิธีถ่ายเลยครับ 
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. กล้องถ่ายภาพพร้อมฟิล์ม
2. ขาตั้งกล้องพร้อมสายลั่นชัตเตอร์
3. อื่น ๆ เช่น ไฟฉาย ผ้าดำ 
วิธีการถ่ายภาพ
1. ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม
2. ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด 
3. คาดคะเน สภาพแสงเพื่อกำหนดเวลา และรูรับแสง (โดยปกติถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ จะใช้ประมาณ 5.6หรือ 8)

เทคนิคการถ่ายภาพดอกไม้
เนื่องจากดอกไม้มีขนาดเล็ก การถ่ายรูปในเบื้องต้นจึงต้องตั้งเลนมาโคร คือ เลนที่สามารถโฟกัสได้ในระยะใกล้ๆ และ สามารถซูมขยายได้เพียงพอ จึงจะทำให้เก็บรายละเอียดของดอกไม้และสีสันได้อย่างชัดเจน

เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล
การถ่ายภาพบุคคล  คือการถ่ายภาพที่เน้นบุคคล สามารถแบ่งได้   การถ่ายรูปเหตุการณ์ เป็นการถ่ายรูปโดยที่ได้มีการจัดรูปแบบก่อน  การถ่ายรูปจัดรูปแบบ  เทคนิคการถ่ายภาพสิ่งก่อสร้างหรือสถาปัตยกรรม