หน้าเว็บ

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีเลือกซื้อกล้องดิจิตอล

 
  1. งบประมาณ ก่อนอื่นต้องมาดูกันว่า คุณจะตั้งงบไว้สักเท่าใด ในการหาซื้อกล้อง ดิจิตอลสักตัว เพราะราคาในตลาดมีตั้งแต่กล้องแบบง่ายๆ ราคาไม่กี่พันบาท ซึ่งทำ อะไรไม่ได้มากนัก ที่พอใช้ได้จะเริ่มจากหมื่นต้นๆ ไล่เรียงลำดับไปตามสเปค และ คุณภาพที่ดีขึ้น จนถึงหลักแสนหรือหลายๆ แสน เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น สองหมื่นบาท ก็มองหาเฉพาะกล้องที่อยู่ในงบของเรา รุ่นที่มีราคาสูงกว่า คงไม่ต้องนำมาพิจารณา ให้ปวดหัว


     
  2. เซ็นเซอร์ภาพ ถ้าดูตามสเปคมักจะ เขียนว่า Image sensor หรือ Image recording พูดง่ายๆ ก็คือ อุปกรณ์ ที่ใช้รับภาพแทนฟิล์มนั่นเอง บางยี่ห้อใช้ CMOS แต่ส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดใช้ CCD ขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่ใหญ่กว่าย่อมได้เปรียบ เพราะเก็บรายละเอียดได้มาก แต่ราคาก็แพงกว่า อาจจะดูจากสเปคว่าใช้ CCD ขนาดเท่าใดเช่น 1/1.8 นิ้ว, 1/2.7 นิ้ว หรือ 2/3 นิ้ว (วัดตามแนวทแยงมุม)

     
  3. ความลึกของสี หรือ Bit Depth บางทีก็เรียก Color Depth ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด ก็จะเก็บรายละเอียด ของเฉดสีได้ดีมากขึ้น เช่น 10 บิต/ สี หรือ 12 บิต/สี หมายความว่า สีธรรมชาติ มี 3 สีคือ RGB ถ้า 1 สี แสดงได้ 13 บิต 3 สีก็จะได้ 36 บิต เป็นต้น ถ้าเป็นกล้องระดับไฮเอนด์ อาจจะทำได้ถึง 16 บิต/สี หรือ 48 บิตที่ RGB นั่นก็เทียบเท่ากับฟิล์ม สไลด์ดีๆ นี่เอง แต่ไม่รู้ว่าทำไมมีกล้องบาง ยี่ห้อ บางรุ่นเท่านั้น ที่เปิดเผยว่ากล้องของตัวเอง มีระดับความลึกของสีเท่าใด ยิ่งถ้าเป็นกล้องที่สเปคต่ำเช่น 8 บิต/สี (อันที่จริงก็เยอะแล้ว เพราะ จะได้ 24 บิตที่ RGB แสดงสีได้ 16.7 ล้านเฉดสี) แทบไม่อยากจะพูดถึงกันเลย แต่ถ้ากล้องระดับโปร มักจะโชว์ตัวเลขให้เห็นจะๆ เลยว่าใครได้มากกว่ากัน การที่เฉดสีน้อย จะทำให้การแยกสีไม่ดีเท่าที่ควร เช่น กลีบดอกไม้สีแดงเข้ม แดงปานกลางและแดงอ่อน ดูด้วยตาเปล่า ก็ไล่เฉดสีกันดี แต่ถ่ายออกมากลายเป็นสีแดงสีเดียว ถ้าใช้ฟิล์มสไลด์จะได้ใกล้เคียงกับที่ตาเห็น (สไลด์โปรจะทำได้ดีกว่า)

     
  4. ดูความละเอียดต้องดูที่ Effective เวลาซื้อกล้องดิจิตอล เรามักจะได้ยินคน บอกว่า ตัวนี้ 3 ล้านพิกเซล ตัวนี้ 4 ล้านพิกเซล แต่ส่วนใหญ่ เป็นความละเอียดของเซ็นเซอร์ภาพ ขนาดภาพจริงจะน้อยกว่านั้น ลองดูสเปคในคู่มือ หรือโบรชัวร์ หาคำว่า Effective ซึ่งก็คือขนาดภาพจริงๆ ที่จะได้ เช่น ในโบรชัวร์บอกว่า 5.24 ล้านพิกเซล แต่ตามสเปคระบุชัดว่า ขนาดภาพใหญ่สุดที่ได้คือ 2560 x 1920 พิกเซล ถ้าคูณดูก็จะได้ 4.9 ล้านพิกเซล เป็นต้น

     
  5. Interpolate ในกล้องบางรุ่น ถ้า เราดูที่ขนาดภาพตามสเปค อาจจะแปลกใจ เพราะคูณออกมาแล้ว ได้ความละเอียดมากกว่าเดิมเช่น CCD 3 ล้านพิกเซล แต่ได้ขนาดภาพถึง 6 ล้านพิกเซล ทั้งนี้เป็นเพราะ มีการใช้เทคโนโลยีบางอย่าง เพิ่มความละเอียดให้สูงขึ้นนั่นเอง เช่น Super CCD ของ Fuji หรือ HyPict ของ EPSON เป็น ต้น แต่คุณภาพจะดีไม่เท่ากับความละเอียดแท้ๆ ของ CCD แต่ก็จะดีกว่ากล้องรุ่นที่มีความละเอียดแบบ Effective เท่ากัน อย่างไรก็ตามก็นับว่า เป็นการเพิ่มคุณภาพให้ดีกว่าเดิม โดยใช้เทคโน โลยีมาช่วย ต่างกับการนำภาพ ไปเพิ่มความละเอียด ด้วยซอพท์แวร์เช่น Adobe Photo shop ซึ่งคุณภาพจะแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเพิ่มความละเอียดถึง 1 เท่าแบบนี้ วิธีการนี้เรามักจะเรียกกันว่า Interpolate ซึ่งกล้องที่มีฟังก์ชั่นเหล่านี้ จะมีเมนูให้เลือกว่าจะใช้หรือไม่

     
  6. ปรับลดขนาดภาพ แม้ว่ากล้องที่มี ความละเอียดสูงจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องไม่ลืมว่า ขนาดไฟล์ที่ได้จะใหญ่มาก กินแมมมอรี่ในการ์ดมาก ถ้าการ์ดความจุน้อยๆ เช่น 16 MB ใช้กล้อง 3 ล้านพิกเซล ถ่ายไปไม่กี่ภาพก็เต็มแล้ว ต้องใช้การ์ดที่มีความจุสูงๆ บางครั้งเราต้องการเพียงแค่ บันทึกเตือนความจำ หรือใช้ส่งอีเมล์ หรือไม่ก็ใช้ประกอบเวบไซต์ ซึ่งต้องมาลด ความละเอียด ด้วย Photoshop หรือโปรแกรมอื่นๆ ให้เหลือ แค่ 640 x 480 พิกเซล หรือเล็กกว่านั้น แต่กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ จะเลือกขนาดภาพได้หลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับงาน ที่จะนำไปใช้ เช่นกล้อง Olympus E-20 เลือกขนาดภาพได้ 5 ระดับ เล็กสุดที่ 640 x 480 พิกเซล เป็นต้น

     
  7. การตอบสนองหรือ Response อันนี้ กล้องดิจิตอลเกือบทั้งหมด ไม่ยอมระบุไว้ใน สเปคกล้องของตัวเอง ยกเว้นกล้องคอมแพค ระดับไฮเอนด์ หรือดิจิตอล SLR จะถือว่าเป็นจุดเด่น เอามาคุยไว้ในโบรชัวร์กันเลยครับ บางรุ่นตอบสนองตั้งแต่ เปิดสวิตซ์กล้องแล้ว พร้อมที่จะกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวินาที แทบไม่ต่างกับกล้อง ออโต้โฟกัส 35 มม.ที่ใช้ฟิล์มทีเดียว ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกว่า ใช้กล้องดิจิตอลหรือใช้ฟิล์ม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้มีการพัฒนา ที่ดีขึ้นตามลำดับ ต่อไปกล้องดิจิตอลราคาประหยัด ก็จะมีการตอบสนอง ที่รวดเร็วไม่แพ้กล้องไฮเอนด์ ที่มีราคาแพง

     
  8. Buffer ยิ่งมากยิ่งดี การที่มีบัฟเฟอร์ หรือหน่วยความจำในตัวกล้องมากๆ จะ ช่วยให้การถ่ายภาพ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว กล่าวคือ หลังจากที่เรากดชัตเตอร์ ถ่ายภาพไปแล้ว ข้อมูลภาพ ที่ผ่านอิมเมจโปรเซสซิ่ง จะถูกพักเก็บไว้ก่อนด้วยบัฟเฟอร์ ก่อนที่จะบันทึกลงในการ์ดต่อไป (ขณะบัน ทึกมักใช้ไฟสีเขียวหรือสีแดง กระพริบเตือนให้ทราบ) วิธีนี้ทำให้เราถ่ายภาพต่อไปได้เลย ไม่ต้องรอบันทึกลงการ์ดให้เสร็จเสียก่อน ถ้าบัฟเฟอร์เยอะ ก็จะถ่ายต่อเนื่อง ได้ เร็วและได้หลายๆ ภาพติดต่อกัน เช่น สเปคกล้องระบุว่า ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 3 ภาพต่อวินาที ติดต่อกันรวดเดียว 10 ภาพ หมายถึงว่าถ้าครบ 10 ภาพจะกดชัตเตอร์ต่อไม่ได้ เพราะบัฟเฟอร์เต็มแล้ว ต้องรอให้บันทึกลงการ์ดก่อน เมื่อมีที่ว่างเหลือพอก็จะถ่ายภาพต่อได้อีก โดยไม่ต้องรอให้เก็บภาพ ลงการ์ดครบทั้ง 10 ภาพก่อน และการที่มี บัฟเฟอร์มากเมื่อกดชัตเตอร์ไปแล้ว สามารถเปิดดูภาพซูม ขยายดูส่วนต่างๆ ของภาพหรือลบภาพทิ้งได้ทันที แทบไม่ต้องรออะไรเลย

     
  9. ไฟล์ฟอร์แมท RAW กล้องระดับ ไฮเอนด์ที่มีความละเอียดสูง จะมีฟอร์แมทที่ เรียกว่า RAW ให้เลือกนอกเหนือจาก JPEG หรือ TIFF ทั้งนี้เพราะในฟอร์แมท RAW จะเก็บข้อมูลความลึกของสีได้ดีกว่า เช่นดิจิตอล SLR ของ Nikon รุ่น D1x ในไฟล์ ฟอร์แมท RAW จะได้ 12 บิต/สี แต่ถ้าเป็น JPEG จะเหลือ 8 บิต/สี เป็นต้น และยังมีไฟล์ขนาดเล็กกว่าฟอร์แมท TIFF โดยที่คุณภาพไม่ได้ลดลงเหมือนกัน แต่การเปิดชมภาพ ต้องใช้กับซอพท์แวร์ ที่มาพร้อมกับกล้องเท่านั้น ไม่สามารถเปิดจากโปรแกรม Adobe Photoshop หรือโปรแกรมตกแต่ง ภาพอื่นๆ นอกจากนี้ภาพในฟอร์แมท RAW ยังสามารถปรับแต่ง หรือ แก้ไขภาพ ที่ถ่ายมาไม่ดีให้ดี เหมือนกับการถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง เช่น การปรับภาพให้สว่างหรือมืดลง หรือ การปรับไวท์บาลานซ์ เป็นต้น สำหรับคอม แพคดิจิตอลในปัจจุบันมีหลายรุ่นที่มีฟอร์ แมท RAW เช่น Canon PowerShot G3, Nikon Coolpix 5700 เป็นต้น

     
  10. ไวท์บาลานซ์หรือสมดุลย์แสงขาว ฟังก์ชั่นนี้มีในกล้องดิจิตอลทุกรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาเราจะรู้จัก ไวท์บาลานซ์ในกล้องวีดีโอ ซึ่ง ใช้ CCD รับภาพเช่นกัน ส่วนใหญ่จะมี ระบบปรับไวท์บาลานซ์อัตโนมัติ ทำให้ภาพ ถ่ายมีสีสันถูกต้อง ไม่ว่าจะถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือสภาพแสงอื่นๆ ที่มีอุณหภูมิสีแตกต่างกัน ถ้าเป็นกล้องใช้ฟิล์ม ซึ่งสมดุลย์กับแสงกลางวัน ที่มีอุณหภูมิสี 5000-5500 องศาเคลวิน จะได้ภาพที่มีสีถูกต้อง เมื่อถ่ายภาพด้วยแสงกลางวัน หรือ แสงแฟลชเท่านั้น ถ้าอยู่ในที่ร่มอุณหภูมิสีจะสูงภาพจะมีโทนสีฟ้า หรือช่วงเย็นอุณหภูมิสีต่ำ ภาพจะมีโทนสีส้มแดง แต่กล้องดิจิตอล จะให้สีถูกต้องเสมอ และยังมีระบบ Preset ให้ปรับตั้งตามสภาพแสงแบบต่างๆ อีก แต่ละรุ่นเลือกได้ไม่เท่ากัน เช่น แสงดวงอาทิตย์ แสงในที่ร่ม แสงจากไฟฟลูออเรส เซ้นท์ในอาคาร แสงไฟทังสเตน เป็นต้น กล้องบางรุ่น มีระบบถ่ายภาพคร่อมไวท์บาลานซ์ โดยจะถ่ายภาพ 3 หรือ 5 ภาพติดต่อกัน แต่ละภาพ มีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน จากนั้นเลือกเก็บไว้ เฉพาะภาพที่มีโทนสีถูกต้อง สมจริงมากที่สุด หรือจะปรับแก้อุณหภูมิสี ด้วยซอพท์แวร์ที่แถมมา พร้อมกับกล้องก็ได้

     
  11. กล้องคอมแพคดิจิตอลรุ่นเล็ก ราคาประหยัด จะใช้เลนส์เดี่ยว ซูมไม่ได้ เช่น 35 มม. ดีขึ้นมาหน่อยจะซูมได้ 2-3 เท่า เช่น 35-70 มม. หรือ 35-105 มม. เป็นต้น ตัวเลขนี้เป็นการเทียบกับกล้องใช้ฟิล์ม 35 มม. แต่ถ้าดูที่ตัวเลนส์จริงๆ จะระบุตัวเลขน้อยกว่ามาก ทั้งนี้เพราะ CCD ขนาด เล็กกว่าฟิล์มมากนั้นเอง เช่น Minolta Dimage 7i หรือ 7Hi ใช้เลนส์ 7.2-50.8 มม. เทียบเท่ากับ 28-200 มม. ถ้าเป็นเลนส์ซูมที่เริ่มต้นด้วยมุมกว้างมากกว่า จะใช้ประโยชน์ในที่แคบๆ ได้ดีกว่า เช่น เริ่มที่ 28 มม. หรือ 30 มม.

     
  12. ดิจิตอลซูม ลูกเล่นที่มีก็ดีไม่มีก็ ไม่เป็นไร เวลาดูโฆษณา กล้องดิจิตอลว่า ซูมได้มากน้อยแค่ไหน ให้ดูที่ Optical Zoom ซึ่งจะบอกไว้ในสเปค เช่น 3X ก็คือ 3 เท่า นับจากเลนส์ช่วงกว้างสุด เช่น 30-90 มม. และบอกต่อว่ามีดิจิตอลซูม 2X รวมแล้วซูมได้ 6X คือ 30-180 มม. แต่ในความเป็นจริงช่วงซูมที่ดิจิตอลสูงสุด 180 มม. นั้น ขนาดภาพจะเล็กลงด้วย เช่น ความละเอียด 3 ล้านพิกเซล ถ้าซูมที่ดิจิตอลจะเหลือแค่ 1.5 ล้านพิกเซล เป็นต้น ไม่ใช่ว่าซูมได้มากๆ โดยที่ความละเอียดเท่าเดิม หากคุณใช้ Optical ซูม 3 เท่า ถ่ายภาพที่ 3 ล้านพิกเซล แล้วเอารูปมา ครอปหรือตัดส่วนให้เหลือ 1.5 ล้านพิกเซล เท่ากับว่ารูปนั้นถูกถ่ายด้วยเลนส์ซูม 6 เท่าเช่นกัน แต่ถ้าใช้ดิจิตอลซูม ตั้งแต่แรก ก็จะสะดวกขึ้นบ้าง ตรงที่ไม่ต้องมาตัดส่วนภาพทีหลัง และกล้องดิจิตอล บางรุ่น เมื่อใช้ดิจิตอลซูม คุณภาพจะไม่ลดลง (ลดแต่ขนาดภาพ) ต่างกับกล้องวีดีโอ ยิ่งซูมดิจิตอลมากเท่าไหร่ก็หยาบมากขึ้น เพราะเอาภาพที่มีอยู่แล้ว มาขยายใหญ่นั่นเอง แต่บางรุ่นใช้วิธีตัดส่วนภาพแล้วขยายไฟล์ ให้มีขนาดใหญ่เท่าเดิม วิธีนี้คุณภาพ จะลดลงแน่นอน

     
  13. จอมอนิเตอร์ อยากจะเรียกว่า อุปกรณ์เปลืองแบตเตอรี่ เพราะส่วนนี้ใช้ พลังงานจากแบตเตอรี่มาก ขนาดไม่ได้ใช้เปิดจอทิ้งไว้ไม่นาน แบตเตอรี่ที่ซื้อมาใหม่ หรือชาร์จมาเต็มๆ ก็หมดลงอย่างรวดเร็ว กล้องดิจิตอลที่ดี ควรจะปรับความสว่างได้ และแสดงสีได้ถูกต้องตามธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการสีกับคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ภาพสีเป็นไปอย่างราบรื่นถูกต้องตรงกันมากที่สุด จอมอนิเตอร์ ที่ให้สีผิดเพี้ยน (แม้ว่าภาพจะให้สีถูกต้อง เมื่อเปิดจากคอม พิวเตอร์) จะดูแล้วชวนหงุดหงิดคิดว่า รูปจะออกมาเพี้ยนตามจอ อย่าลืมดูสเปคด้วยว่า มีฟังก์ชั่นซูมภาพที่ถ่ายไปแล้วได้หรือไม่ และซูมขยายภาพได้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งมากยิ่งดี ถ้าได้ถึง 100% จะดีที่สุด เพราะเห็นภาพ ได้เต็มๆ ว่าแต่ละจุดคมชัดแค่ไหน ระยะชัดลึกครอบคลุมหมดหรือเปล่า ถ้าไม่ดีจะได้ถ่ายใหม่ กล้องบางรุ่น เช่น Sony DSC-F717 ออกแบบให้พลิกตัวกล้องกับเลนส์ได้ ทำให้สะดวกในการถ่ายภาพมุมสูง หรือ มุมต่ำ บางรุ่นพลิกหมุนได้รอบ เช่น Canon G3 กล้องบางรุ่น ใช้จอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่มาก เช่น 2.5 นิ้ว ในขณะที่ส่วนใหญ่ มีขนาดเพียง 1.5 หรือ 2 นิ้ว ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า บางรุ่นแถมฮูดบังแสงมาให้ด้วย โดยออกแบบเป็น บานพับ เช่น Panasonic DMC-LC5 หรือ Fujifilm FinePix M603 เป็นต้น

     
  14. บันทึกเสียงลงในไฟล์ภาพได้ ลูก เล่นนี้มีเฉพาะในกล้องบางรุ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่ จะบันทึกได้นาน 5-15 วินาที ซึ่งก็พอเพียงกับการเตือนความทรงจำต่างๆ สามารถเปิดฟังก็ได้เ มื่อใช้โหมดเปิดชมภาพ จากจอมอนิเตอร์ หรือ จากคอมพิวเตอร์

     
  15. Optical Viewfinder ในเมื่อการ ดูภาพจากจอมอนิเตอร์สิ้นเปลืองแบตเตอรี่มาก เราก็ควรมาดูภาพจากจอแบบออฟติคัล แทน เพราะใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากการซูมให้สัมพันธ์ กับทางยาวโฟกัสของเลนส์ แต่กล้องบางรุ่น ไม่มีช่องมองภาพแบบนี้มาให้ จึงควรดูสเปคให้ดีด้วย ข้อเสียของช่องมองภาพ ออฟติคัล คือ ไม่ได้มองภาพผ่านเลนส์ เวลาถ่ายภาพใกล้ จะเกิดการเหลื่อมล้ำกัน ต้องดูภาพด้านบน ไม่ให้เกินเส้นขีดที่แสดงไว้ ถ้าต้องถ่ายภาพใกล้ ก็อาจใช้วิธีดูภาพ จากจอมอนิเตอร์แทนจะดีกว่า แต่กล้องบางรุ่น จอมอนิเตอร์มีไว้เพื่อดูภาพที่ถ่ายไปแล้ว กับดูเมนูต่างๆ เท่านั้น

     
  16. วีดีโอคลิป กล้องถ่ายภาพนิ่ง ดิจิตอลแบบคอมแพคส่วนใหญ่ ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย รูปแบบคล้ายกับกล้องวีดีโอ แต่มักมีภาพขนาดเล็กมาก เช่น 320 x 240 พิกเซล แต่บางรุ่นเช่น Fuji FinePix S602 หรือรุ่น M603 ถ่ายวีดีโอได้ขนาด 640 x 480 พิกเซล หรือขนาด VGA เท่า กับกล้องวีดีโอทั่วไป บางรุ่นถ่ายภาพเคลื่อน ไหวอย่างเดียว แต่บางรุ่นบันทึกเสียงได้ด้วย ฟอร์แมทภาพมีทั้งแบบ MPEG และ Quick Time โดยถ่ายภาพที่ความเร็ว 10-15 ภาพ/ วินาที ขนาดไฟล์เล็กมาก เหมาะสำหรับ ใช้ส่งภาพไปทางอีเมล์ ภาพที่ได้จะดูกระตุกนิด หน่อย สำหรับรุ่นที่สเปคระบุว่า ถ่ายวีดีโอที่ ความเร็ว 30 เฟรม/วินาที ภาพจะดูนุ่มนวล เป็นธรรมชาติ ไม่ต่างกับกล้องวีดีโอทั่วๆ ไป และส่วนใหญ่จะถ่ายเป็นวีดีโอคลิปสั้นๆ ไม่เกิน 30 หรือ 60 วินาทีต่อครั้ง บางรุ่นถ่าย ภาพได้นานตามจำนวนความจุของการ์ด

     
  17. ระบบโฟกัส กล้องดิจิตอลเกือบ ทุกรุ่นเป็นระบบออโต้โฟกัส ทำงานได้รวด เร็วไม่แตกต่างกันมากนัก บางรุ่นมีจุดโฟกัสเฉพาะตรงกลางภาพ แต่บางรุ่นมี 3 หรือ 5 จุด กระจายอยู่ทั่วทั้งภาพ ไม่ว่าตัวแบบ หรือสิ่งที่ต้องการจะอยู่ในตำแหน่งใด ก็จะ ปรับโฟกัสได้อย่างแม่นยำ โดยกล้องจะเลือกจุดโฟกัสอัตโนมัติ หรือเลือกเองก็ได้ แต่บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้ระบบแมนนวลโฟกัส เพื่อผลพิเศษบางอย่าง ระบบแมนนวลโฟกัส มักจะให้เลือกตัวเลขระบุระยะโฟกัสเอง ซึ่งผิดพลาดได้ง่าย กล้องบางรุ่นมีวงแหวนหมุนปรับโฟกัส จะแม่นยำกว่า คล้ายกับกล้อง SLR นอกจากนี้มีโหมดอินฟินิตี้ (สัญลักษณ์รูปภูเขา) สำหรับการถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ระยะไกล กล้องจะถ่ายภาพได้เร็วขึ้นเพราะไม่ต้องปรับหาโฟกัสอีก และควรพิจารณา ดูโหมดถ่ายภาพมาโครด้วยว่า มีหรือไม่ แม้ว่ากล้องบางรุ่น จะระบุว่าถ่ายได้ใกล้สุดเพียงไม่กี่เซ็นติเมตร แต่เป็นการถ่ายภาพที่ช่วงซูมมุมกว้าง (เหมือนกล้องวีดีโอ) ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ไม่ดี เท่ากับมาโครที่ช่วงเทเล ลองซูมเลนส์ที่ช่วงเทเลดู แล้วถ่ายภาพใกล้ๆ ดูว่าได้มากน้อยแค่ไหน

     
  18. ระบบแฟลช กล้องคอมแพค ดิจิตอลส่วนใหญ่มีแฟลชขนาดเล็กในตัว ทำงานอัตโน มัติ เมื่อแสงน้อยเกินไป และมีระบบแฟลช กับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ทำให้การใช้แฟลช ถ่ายภาพเวลากลางคืน ฉากหลังไม่ดำทึบ หรือระบบสัมพันธ์แฟลช ที่ม่านชัตเตอร์ที่สอง เพื่อการใช้เทคนิคพิเศษถ่ายภาพ เคลื่อนไหว ระบบแฟลชแก้ตาแดง เมื่อใช้ถ่ายภาพคน ในระยะใกล้ แบบตรงๆ แต่จะดีมากถ้าสามารถใช้แฟลชภายนอกได้ ซึ่งกล้องบางรุ่นจากผู้ผลิตกล้องใช้ฟิล์ม เช่น Canon PowerShot G3, Minolta Dimage 7Hiและ Nikon CoolPix 5700 จะมีฮอทชูเสียบแฟลชมาด้วย สำหรับนำแฟลชของกล้อง 35 มม. มาใช้ เป็นการเสริมประสิทธิภาพของกล้องให้สูงมากยิ่งขึ้น

     
  19. ระบบบันทึกภาพ สำหรับฟังก์ ชั่นการถ่ายภาพจะไม่แตกต่างกับกล้องใช้ฟิล์มมากนัก ส่วนใหญ่มีระบบโปรแกรมอัตโนมัติเป็นหลัก โดยกล้องจะเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงที่เหมาะสม ถ้าแสงน้อยก็จะปรับความไวแสงให้สูงขึ้น (เลือกโหมดความไวแสงที่ออโต้) ทำให้ใช้งานง่าย ถ้าหากคุณมีความรู้เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพ ก็อาจใช้โหมดออโต้ชัตเตอร์ ออโต้รูรับแสง หรือแมนนวล และในระบบอัตโนมัติยังมีฟังก์ชั่นปรับชดเชยแสง กรณีที่ต้องถ่ายภาพย้อนแสง หรือ ภาพที่มีฉากหลังมืดทึบ เพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงพอดี นอกจากนี้ยังมี ระบบถ่ายภาพคร่อม โดยกล้องจะถ่ายภาพต่อเนื่อง 3 หรือ 5 ภาพ ในแต่ละภาพ มีค่าแสงที่แตกต่างกัน ตามที่กำหนดไว้ บางรุ่นมีระบบถ่ายภาพซ้อนด้วยเพื่อสร้างสรรค์ ภาพพิเศษบางอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น