ความเร็วชัตเตอร์(1) คือความเร็วในการเปิด
– ปิด ช่องรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการเปิดและปิดกั้นแสงที่จะเข้าไปโดนฟิล์มคือม่านชัตเตอร์
ลองเปิดฝาหลังกล้องออก ( เหมือนเวลาใส่ฟิล์ม ) แล้วลองกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นแผ่นบางๆ
เคลื่อนที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน ตัวที่เคลื่อนที่ขึ้นลงเพื่อเปิดปิดกั้นแสงนี้คือม่านชัตเตอร์
ระยะเวลาสั้นๆ ในการเปิด-ปิดนั้น จึงเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์ หรือ Speed ในภาษากล้องเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง
ความเร็วในการเปิดปิดแสงของม่านชัตเตอร์
Speed มีตั้งแต่ช้าจนถึงเร็ว เช่นปล่อยให้แสงเข้ากล้องเป็นเวลา 1 วินาที ,ครึ่งวินาทีหรือ ½ วินาที ,ครึ่งของครึ่งวินาทีหรือ ¼ วินาที , 1/8 วินาที ->ไปจนถึง 1/500 วินาที , 1/1000 วินาที , 1/2000 วินาที , 1/4000 วินาที และสูงสุดในปัจจุบันที่ 1/8000 วินาที หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า ถ้าเราแบ่งช่วงเวลา 1 วินาทีออกเป็น 8000 ส่วน ความเร็วขนาดนี้ไวมากเพียงเศษของ 1 ใน 8000 ส่วนนั้น เร็วจนสามารถหยุดหัวลูกปืนที่ยิงออกไปจากกระบอกปืนได้ ทั้งๆ ที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ ( ถ้าคงเห็นได้หากใครยิงเราก็คงหลบทันซินะ ) วิธีการเขียนแบบเศษส่วนนี้ดูแล้วก็ชวนเวียนหัวดังนั้นจึงเขียนใหม่ให้เข้าใจง่ายๆ และใช้พื้นที่เขียนน้อย คือ 1, 2, 4, 8, 15, 30, 60, 125, 250 , 500, 1000, 2000, 4000, 8000 และ B ( นานเท่าที่ใจเราต้องการ )
ดังนั้นเมื่อเห็นตัวเลขมากขึ้นอย่าเข้าใจว่ายิ่งช้าลง เพราะตัวเลขนั้นย่อมาจากเศษส่วนใน 1 วินาที บางรุ่นก็สามารถเปิดได้นานถึง 30 วินาที จนเร็วที่สุดถึง 1/8000 วินาที ปกติก็จะอยู่ระหว่าง 1-2000 วินาที ซึ่งเร็วเพียงพอแล้วสำหรับการถ่ายภาพแบบธรรมดา การปรับความเร็วชัตเตอร์ กล้อง SLR แมนนวล ปรับโดยการหมุนแป้นปรับบนตัวกล้อง
Speed มีตั้งแต่ช้าจนถึงเร็ว เช่นปล่อยให้แสงเข้ากล้องเป็นเวลา 1 วินาที ,ครึ่งวินาทีหรือ ½ วินาที ,ครึ่งของครึ่งวินาทีหรือ ¼ วินาที , 1/8 วินาที ->ไปจนถึง 1/500 วินาที , 1/1000 วินาที , 1/2000 วินาที , 1/4000 วินาที และสูงสุดในปัจจุบันที่ 1/8000 วินาที หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า ถ้าเราแบ่งช่วงเวลา 1 วินาทีออกเป็น 8000 ส่วน ความเร็วขนาดนี้ไวมากเพียงเศษของ 1 ใน 8000 ส่วนนั้น เร็วจนสามารถหยุดหัวลูกปืนที่ยิงออกไปจากกระบอกปืนได้ ทั้งๆ ที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ ( ถ้าคงเห็นได้หากใครยิงเราก็คงหลบทันซินะ ) วิธีการเขียนแบบเศษส่วนนี้ดูแล้วก็ชวนเวียนหัวดังนั้นจึงเขียนใหม่ให้เข้าใจง่ายๆ และใช้พื้นที่เขียนน้อย คือ 1, 2, 4, 8, 15, 30, 60, 125, 250 , 500, 1000, 2000, 4000, 8000 และ B ( นานเท่าที่ใจเราต้องการ )
ดังนั้นเมื่อเห็นตัวเลขมากขึ้นอย่าเข้าใจว่ายิ่งช้าลง เพราะตัวเลขนั้นย่อมาจากเศษส่วนใน 1 วินาที บางรุ่นก็สามารถเปิดได้นานถึง 30 วินาที จนเร็วที่สุดถึง 1/8000 วินาที ปกติก็จะอยู่ระหว่าง 1-2000 วินาที ซึ่งเร็วเพียงพอแล้วสำหรับการถ่ายภาพแบบธรรมดา การปรับความเร็วชัตเตอร์ กล้อง SLR แมนนวล ปรับโดยการหมุนแป้นปรับบนตัวกล้อง
ความเร็วชัตเตอร์ของกล้องจะมีระยะตั้งแต่ 30 วินาที - 1/8000 วินาที ซึ่งขึ้นอยู่กับเสปคของกล้องด้วย นอกจากการควบคุมเรื่องแสงที่จะตกสู่เซนเซอร์ของกล้องแล้ว ความเร็วชัตเตอรยังส่งผลถึงการ "จับการเคลื่อนไหว" ของแบบอีกด้วย!
น้องๆ เคยเห็นภาพคนที่หยุดนิ่งกลางอากาศ หรือภาพข่าวกีฬาที่เห็นนักกีฬาหยุดค้างอยู่ ไม่ขยับเขยื้อน หรือภาพน้ำตกที่เห็นสายน้ำ กระเซ็นเป็นเม็ดๆ หรือเป็นสายๆ นุ่มนวลเหมือนเป็นควันลอยขึ้นมาไหมครับ นั่นละ! ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการควบคุมความเร็วชัตเตอร์ทั้งสิ้น
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ยิ่งชัตเตอร์เร็วเท่าไร ยิ่งหยุดความเคลื่อนไหวได้มากเท่านั้น และยิ่งช้าเท่าไรยิ่งทำให้เคลื่อนไหวมากเท่านั้น
สมมุติว่าเราจะถ่ายภาพคนกระโดดให้หยุดอยู่บนอากาศ ความเร็วชัตเตอร์สมควรมีมากกว่า 1/250 วินาที ยิ่งเป็นการเคลื่อนที่เร็วเท่าไรยิ่งต้องเพิ่มความเร็วมากขึ้นเท่านั้น เช่นการแข่งขันรถ อาจจะต้องใช้ความเร็วถึง 1/1000 วินาที
แล้วถ้าอยากถ่ายน้ำตกให้เกิดเป็นสายน้ำที่นุ่มนวล ก็จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า อาจจะนาน 1 วินาที หรือ มากกว่านั้น และใช้ควบคู่กับขาตั้งกล้อง เพราะการสั่นไหวของกล้องเพียงเล็กน้อย จะทำให้ภาพนั้นเบลอได้ครับ
แล้วทีนี้เวลาเรายกกล้องขึ้น มา เราลองสังเกตกันนะครับว่าทำไมเราถ่ายภาพมักจะเบลอ นั่นเพราะตัวเลขของความเร็วชัตเตอร์นั้นช้าเกิน กว่าที่มือเราจะถือได้นั่นเอง! (ให้เราปรับไปที่โหมด TV หรือ โหมด S นะครับ จะทำให้เราสามารถควบคุมสปีดชัตเตอร์ได้ ส่วนกล้องของน้องคน ไหนไม่มีโหมดนี้ ก็พยายามเลือกถ่ายรูปในสถานที่ที่มีแสงเยอะๆ นะครับ
ป.ล.เราสามารถฟังจากเสียงชัตเตอร์ได้เหมือนกันนะครับว่า ช้าหรือเร็ว ถ้า
ชึบ! แล้วหยุดนั่นคือเร็ว แต่ถ้า ชึบ....ชึบ! นั่นคือชัตเตอร์ช้าครับ
มีความเป็นไปได้สูงว่า ภาพสั่นแน่นอน!
ความเร็วชัตเตอร์(2) ( shutter speed ) ความเร็วชัตเตอร์มีผลต่อการเคลื่อนไหวของวัตถุ โดยอาจทำให้แบบหยุดนิ่งได้ หรือ หรือ มีลักษณะการเคลื่อนไหว
- ความเร็วชัตเตอร์สูงๆจะทำให้วัตถุหยุดนิ่ง
- ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะทำให้วัตถุเหมือนเคลื่อนที่
shutter speed มีผลกับความเร็วในการเปิดปิดช่องรับแสง โดยที่ค่าความเร็วชัตเตอร์มีค่ามาก แสงจะผ่านเข้ามาได้น้อย ส่วน ความเร็วชัตเตอร์น้อยแสงจะผ่านเข้าสู่กล้องได้มาก
ความเร็วชัตเตอร์(2) ( shutter speed ) ความเร็วชัตเตอร์มีผลต่อการเคลื่อนไหวของวัตถุ โดยอาจทำให้แบบหยุดนิ่งได้ หรือ หรือ มีลักษณะการเคลื่อนไหว
- ความเร็วชัตเตอร์สูงๆจะทำให้วัตถุหยุดนิ่ง
- ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะทำให้วัตถุเหมือนเคลื่อนที่
shutter speed มีผลกับความเร็วในการเปิดปิดช่องรับแสง โดยที่ค่าความเร็วชัตเตอร์มีค่ามาก แสงจะผ่านเข้ามาได้น้อย ส่วน ความเร็วชัตเตอร์น้อยแสงจะผ่านเข้าสู่กล้องได้มาก