หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ถ่ายภาพแบบมุมกว้างมาก ๆ (Panorama)

ถ่ายภาพแบบมุมกว้างมาก ๆ (Panorama)           เป็นการถ่ายภาพในมุมที่ต้องการความกว้างมากๆ เช่น รูปหมู่ในการรับปริญญาจำนวนคนมากกว่าหนึ่งร้อย รูปหาดทราย
ชายทะเล จุดเด่นของกล้องดิจิตอลอีกอย่างหนึ่งนั่นคือ การถ่ายภาพแบบพาโนรามาได้อย่างไม่ยาก เพียงแต่ขอให้มีโปรแกรมต่อภาพ
กล้องดิจิตอล เกือบทุกรุ่นก็สามารถถ่ายภาพพาโนรามาได้แล้ว หลักการถ่ายภาพพาโนรามาของกล้องดิจิตอลคือการถ่ายภาพหลายๆ
ภาพต่อกันเพื่อให้ได้ภาพที่มุมมองกว้าง กว่าปกติซึ่งสามารถเลือกถ่ายได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
          การถ่ายภาพพาโนรามาเพื่อให้ได้ผลดี และภาพต่อกันได้สนิทควรใช้ร่วมกับขาตั้งกล้องและระบบล็อคค่าความจำแสง
ความเร็วชัดเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพที่อยู่ในระนาบเดียวกันและมีแสงสว่างของภาพใกล้ เคียงกัน แต่กล้องดิจิตอลบางรุ่นก็มีระบบช่วย
เหลือการถ่ายภาพพาโนรามา ซึ่งจะแสดงภาพถ่ายที่ถ่ายไปแล้วไปที่จอ LCD (เป็นช่องมองภาพของกล้อง) เพื่อช่วยให้การถ่ายภาพ
ต่อไปต่อเนื่องกับภาพแรกได้ดียิ่งขึ้น แต่ถึงแม้จะไม่มีระบบช่วยเหลือนี้กล้องดิจิตอลก็ยังสามารถถ่ายภาพพาโนรามา ได้อย่างดี
          องค์ประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูประบบดิจิตอลที่กล่าวถึงต่อไปนี้เป็นกล้องดิจิตอลขนาดเล็กคอมแพ็ค (Compact)
ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
          ตัวกล้องดิจิตอล (Digital Camera)
ตัวกล้องดิจิตอลนั้นไม่ได้ใช้ฟิล์มในการบันทึกภาพ แต่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า เซนเซอร์ ใช้ในการบันทึกภาพแทนโดย
แปลงข้อมูลจากแสงมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ แล้วบันทึกเก็บไว้ในอุปกรณ์
เก็บข้อมูลจากนั้นเราก็สามารถนำไปพิมพ์ออกมาเป็นภาพ หรือตกแต่งตามต้องการได้อีกด้วย
        
เลนส์ (Lens)
ถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกล้องถ่ายภาพ เพราะเป็นส่วนที่เปรียบเสมือนดวงตาของกล้องเอาไว้รับภาพและแสงต่างๆ เข้าสู่
กล้องกล้องที่มีเลนส์คุณภาพดีก็เหมือนกับคนที่มีสายตาดี สามารถมองเห็นภาพมีความคมชัด เลนส์กล้องจะประกอบด้วนชิ้นเลนส์
จำนวนมาก เพื่อรับแสงและซูมขยายภาพ กล้องดิจิตอลรุ่นราคาแพงมักจะมาพร้อมกับเลนส์คุณภาพดี ที่สามารถรับแสงได้มากและ
มีความคมชัดสูง
          ช่องมองภาพ (Shutter Button)
ช่องนี้เอาไว้มองภาพที่คุณกำลังจะถ่ายเพียงแค่คุณเอาดวงตามองผ่านช่องมองภาพแล้วเล็งภาพที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่มชัตเตอร์
เพื่อบันทึกภาพ ช่องมองภาพของกล้องดิจิตอลมีหลายแบบ แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
          ปุ่มชัตเตอร์ (Shutter Button)
ปุ่มชัตเตอร์เป็นเหมือนปุ่มคำสั่งให้กล้องทำการบันทึกภาพนั้นๆ โดยทั่วไปการทำงานของปุ่มชัตเตอร์จะมี 2 จังหวะ คือ จังหวะแรก
กดลงไปครึ่งหนึ่งกล้องจะเริ่มทำงานปรับระยะความคมชัดของภาพ วัดแสงระยะที่สองเมื่อคุณกดลงไปจนสุดกล้องจะบันทึกภาพที่
ได้ทันที
          แฟลช (Flash)
แฟลชมีประโยชน์อย่างมากเมื่อคุณต้องการถ่ายภาพในที่มืด หรือในที่ที่มีแสงน้อย แฟลชที่ติดมากับกล้องมักจะมีขนาดเล็กทำให้
ฉายแสงไปได้ไม่ไกลนัก ส่วนใหญ่จะประมาณ 3 - 5 เมตร (อย่าเผลอเอานิ้วไปบังแฟลช นะครับ)
          จอภาพแอลซีดี (LCD)
ส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่แตกต่างที่สุดระหว่างกล้องถ่ายภาพใช้ฟิล์มกับกล้องดิจิตอล เพราะคุณสามารถสังเกตได้ทันทีจากภายนอกว่า
กล้องตัวนี้เป็นกล้องดิจิตอลหรือไม่ เพราะกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีจอ LCD อยู่ ประโยชน์ของจอ LCD มีไว้เพื่อดูภาพที่กำลังจะ
ถ่ายนั้นเองแต่ละรุ่นก็มีขนาดแตกต่างกันไป
          ช่องเก็บการ์ดหน่วยความจำ (Memory Slot)
ช่องเก็บหน่วยความจำเปรียบเสมือนช่องใส่ฟิล์มในกล้องฟิล์ม เพราะการ์ดหน่วยความจำของกล้องดิจิตอลมีไว้เพื่อบันทึกไฟล์
รูปภาพที่ถ่ายไปแล้ว ซึ่งกล้องดิจิตอลแต่ละรุ่นจะใช้หน่วยความจำไม่เหมือนกัน
          ช่องเก็บแบตเตอรี่ (Battery)
ก็เหมือนกับช่องใส่แบตเตอรี่โดยทั่วๆ ไปเพราะถ้ากล้องไม่มีแบตเตอรี่ ก็ไม่มีพลังงานในการทำงาน ช่องใส่แบตเตอรี่ในกล้อง
ดิจิตอลมักมีขนาดแตกต่างกันไป
          ช่องโอนถ่ายข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์
เป็นส่วนที่ใช้โอนถ่ายข้อมูลรูปภาพที่คุณถ่ายไว้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งกล้องดิจิตอลทุกรุ่นจะมีช่องนี้มาให้พร้อมกับสายส่งข้อมูล
การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับกล้องดิจิตอลมีหลายแบบส่วนมากแล้วจะเป็นแบบ USB

           ช่องต่อทีวี (TV-OUT)
ช่องสำหรับต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ ช่องนี้มีประโยชน์เมื่อคุณต้องการดูภาพแล้วไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้โหลด ภาพคุณอาจต่อ
กล้องที่มี TV-OUT เข้ากับทีวีในบ้าน
          นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้เรียบเรียงเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างกล้องดิจิตอลกับกล้องใช้ฟิล์ม และ การปรับความละเอียด
พิกเซลกับรูปถ่ายที่ขยายได้สูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น