หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป


        ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูปกล้องถ่ายรูปที่นิยมมากในปัจจุบัน แม้จะมีความสามารถ และคุณลักษณะแตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบ คล้ายคลึงกันคือ
1.  ตัวกล้อง (Body) ทำหน้าที่เป็นห้องมืด ป้องกันแสงภายนอกเข้าไปถูกฟิล์มที่บรรจุอยู่ภายในและเป็นที่ยึดส่วนประกอบ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการถ่ายรูป
2.  เลนส์ (Lens) ทำหน้าที่รับแสงสะท้อนจากวัตถุ ส่งไปยังฟิล์มที่บรรจุอยู่ในตัวกล้องฟิล์มจะบึนทึกภาพเอาไว้ กล้องบางชนิดสามารถถอด เปลี่ยนเลนส์ได้ตามความต้องการ เช่น กล้องประเภท SLR (Single len Reflex) หรือเรียกว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยว เลนส์จะผนึกอยู่ข้างหน้าตัวกล้อง ซึ่งมีขนาด ความยาวโฟกัสแตกต่างกัน เช่น 50 มม . 35 มม . 105 มม . เป็นต้น  
ชนิดของเลนส์
นักประดิษฐ์เลนส์ถ่ายภาพพยายามพัฒนา  และออกแบบเลนส์ให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท  โดยจำแนกประเภทของเลนส์ตามความยาวโฟกัส (Focal length)  เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสแตกต่างกันจะให้ผลในการถ่ายภาพแตกต่างกันออกไป  โดยมีเลนส์ขนาดหนึ่งใช้เป็นเลนส์ประจำกล้องเพื่อถ่ายภาพธรรมดาทั่วไป  ซึ่งมีองศาในการรับภาพใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์ในการมองทั่วไป  และมีเลนส์ขนาดอื่นแตกต่างกันออกไป อีกทั้งชนิดที่มีองศารับภาพกว้างเหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Landscape)  และเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสแคบแต่สามารถถ่ายภาพในระยะไกลได้  นอกจากนี้ยังมีเลนส์ชนิดพิเศษ  สามารถอำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพให้ได้ลักษณะตามต้องการ  โดยจำแนกชนิดของเลนส์  ดังนี้
2.1.เลนส์มาตรฐาน (Normal lens หรือ Standard lens)
เป็นเลนส์ประจำกล้อง  ซึ่งเมื่อซื้อกล้องถ่ายภาพจะมีเลนส์ชนิดนี้ติดมาด้วย  เป็นเลนส์ที่ใช้ง่าย  มีความยาวโฟกัสระหว่าง 40-58 มม.  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 50 มม. (โดยวัดจากกึ่งกลางเลนส์ถึงฟิล์ม)  เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้ในเรื่องการถ่ายภาพ  เป็นเลนส์ที่มีองศาในการรับภาพกว้างประมาณ 47 องศาซึ่งใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์

2.2.เลนส์มุมกว้าง (Wide-angle lens)
เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน  และรับภาพได้มุมกว้างกว่า  เหมาะสำหรับถ่ายภาพในสถานที่แคบหรือระยะห่างระหว่างกล้องถ่ายภาพกับวัตถุที่จะถ่ายอยู่ใกล้กันแต่ต้องการเก็บภาพเป็นบริเวณกว้าง  ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นเก็บภาพได้ไม่หมด  เหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Land scape)หรือภาพในลักษณะอื่นๆ  เลนส์ชนิดนี้มีความชัดลึกสูงมาก  คือแสดงให้เห็นระ-ยะชัดตั้งแต่ใกล้สุดถึงไกลสุดได้ดี  แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องของสัดส่วนระยะ (Perspective) ต่างๆ  จะเกิดการผิดเพี้ยน (Distortion)  ถ้าความยาวโฟกัสยิ่งสั้นมากยิ่งผิดเพี้ยนมากขึ้น  คือ  ภาพจะมีความโค้งเป็นรัศมีวงกลมเลนส์มุมกว้าง  แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
2.2.1 เลนส์มุมกว้างธรรมดา (Moderate Wide-angle lens) มีความยาวโฟกัสระหว่าง 28-35 มม.  มีมุมองศาในการรับภาพระหว่าง 74-62 องศา
2.2.2 เลนส์มุมกว้างมาก (Ultra Wide-angle lens)  มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 13 -24 มม.  มีมุมองศาในการรับภาพ 118-84 องศา
2.2.3 เลนส์มุมกว้างพิเศษหรือเลนส์ตาปลา (Fisheye lens)  มีความยาวโฟกัสน้อยมาก  คืออยู่ระหว่าง 6 - 16 มม.  มีมุมองศาในการรับภาพ 180-360 องศา  ภาพที่ได้จะมีลักษณะโค้งกลม  นิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพในลักษณะสร้างสรรค์ และแปลกตา
2.3. เลนส์ถ่ายภาพไกล (Telephoto lens)
เลนส์ชนิดนี้มีคุณสมบัติตรงข้ามกับเลนส์มุมกว้าง  คือ  มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์มาตรฐานและเลนส์มุมกว้าง  มีมุมรับภาพแคบเฉพาะส่วนหนึ่งเท่านั้น  เมื่อรับภาพในระยะและตำแหน่งเดียวกัน  จะทำให้ภาพที่บันทึกได้มีขนาดใหญ่กว่าการใช้เลนส์ธรรมดาและเลนส์มุมกว้าง
เลนส์ถ่ายภาพไกลมีขนาดความยาวโฟกัสแตกต่างกันหลายขนาด  จาก 70 มม. ถึง 2,000 มม.  มีมุมองศาการรับภาพตั้งแต่ 34-3 องศา  เพื่อใช้ประโยชน์ต่างกัน  ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามความยาวโฟกัสได้ดังนี้
2.3.1 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงสั้น (Short Telephoto lens)  มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 70-135 มม.  มีมุมองศาในการรับภาพกว้างประมาณ 34-18 องศา  เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆ ไป  เช่น  ภาพบุคคล  ภาพภูมิทัศน์  ภาพถ่ายระยะใกล้  เป็นต้น

2.3.2 เลนส์ถ่ายภาพไกลปานกลาง (Medium Telephoto lens)  มีขนาดความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 150-300 มม.  มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 18-8 องศา  เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ไม่สามารถเข้าใกล้วัตถุที่จะถ่ายได้  เช่น  สัตว์ในกรง  วัตถุที่อยู่ที่สูงพอสมควร  เป็นต้น

2.3.3 เลนส์ถ่ายภาพช่วงไกล (Long Telephoto lens)  มีความยาวโฟกัสระหว่าง 400-600 มม.  มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 6-4 องศา  เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่อยู่ไกล  เช่น  นกบนต้นไม้ การแข่งขันกีฬา  เป็นต้น

2.3.4 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงพิเศษ (Super Long Telephoto lens)  มีความยาวโฟกัสระหว่าง 800-2,000 มม.  มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 3-1 องศาเท่านั้น  สำหรับภาพที่ต้องการกำลังขยายมาก เช่น  ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์  ภาพถ่ายบนตึกสูง  เป็นต้น  เลนส์พวกนี้จะน้ำหนักมากเป็นพิเศษ  ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ

2.4. เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ (Zoom lens)
เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ (Zoom lens) หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า เลนส์ซูม  เลนส์ชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากเพราะใช้สะดวก  มีเลนส์รวมกันอยู่หลายชนิดในตัวเดียว  สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้ในตัวด้วยการเลื่อนกระ-บอกเลนส์ (สำหรับเลนส์แบบวงแหวนเดียว)  หรือการหมุนวงแหวนปรับระยะ  (สำหรับเลนส์แบบสองวงแหวน)  ไม่ต้องคอยเปลี่ยนเลนส์บ่อยๆ  เหมือนกับเลนส์ชนิดความยาวโฟกัสคงที่  แต่เนื่องจากเลนส์ชนิดนี้มีชิ้นเลนส์มาก  จึงทำให้ความคมชัดลดลงเล็กน้อย  จึงไม่เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการขยายใหญ่มากๆ  แต่ก็เป็นเลนส์ที่มีผู้นิยมใช้กันมากตามเหตุผลที่ได้กล่าวมา  เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะหรือเลนส์ซูมนี้มีหลายขนาดให้เลือกใช้  โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภท  คือ
2.4.1 เลนส์ซูมช่วงมุมกว้าง (Wide angle Zoom)  มีช่วงขนาดความยาวโฟกัสสั้น  รับภาพได้มุมกว้าง  เช่นขนาด 20 -35 มม. 24-35 มม. 24-50 มม.  เหมาะสำหรับการใช้งานในการถ่ายภาพมุมกว้าง

2.4.2 เลนส์ซูมช่วงสั้น (Short Zoom)  เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสตั้งแต่ขนาดสั้นถึงปานกลาง  โดยจะมีเลนส์ขนาดมาตรฐานรวมอยู่ด้วย  เป็นเลนส์ซูมที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด  ราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับเลนส์ซูมขนาดอื่นๆ กล้องถ่ายภาพของบางบริษัทจะใช้เลนส์ซูมประเภทนี้แทนเลนส์มาตรฐาน  มีช่วงความยาวโฟกัสที่นิยมใช้  คือ  ขนาด 35-70 มม.  35-105 มม.  35-135 มม.  เป็นต้น

2.4.3 เลนส์ซูมช่วงไกล (Telephoto Zoom)  เป็นเลนส์ซูมที่มีความยาวโฟกัสสูงกว่าเลนส์สองประเภทที่ได้กล่าวมา  โดยมีขนาดที่นิยมใช้  คือ 80-200 มม.  100-300 มม.  สำหรับใช้งานแทนเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล เลนส์ประเภทนี้จะมีน้ำหนักมาก  ผู้ใช้ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญในการใช้ เพราะอาจทำให้กล้องสั่นไหวได้ง่าย

2.4.4 เลนส์ซูมช่วงไกลพิเศษ (Super Telephoto Zoom)  เป็นเลนส์ซูมที่มีช่วงความยาวโฟกัสสูงมาก  เหมาะสำหรับผู้ที่ถ่ายภาพเฉพาะด้าน เช่น  ช่างภาพที่ถ่ายภาพกีฬาบางประเภท  นักถ่ายภาพสารคดี  หรือนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ก็นิยมใช้เลนส์ประเภทนี้  เลนส์ซูมประเภทนี้มีขนาดช่วงความยาวโฟกัสที่นิยมใช้  คือ  80-400 มม. 400-800 มม. 360-1200 มม. เป็นต้น

นอกจากเลนส์ซูมทั้ง 4 ประเภทที่ได้กล่าวมาแล้ว  บางบริษัทยังได้ผลิตเลนส์ซูมประเภทอื่นๆ อีก  เช่น  มาโครซูม (Macro Zoom) สำหรับถ่ายภาพระยะใกล้  หรือเลนส์ซูมที่เป็นเลนส์รวมตั้งแต่เลนส์มุมกว้างถึงเลนส์ถ่ยภาพระยะไกลปานกลาง  เช่น  ขนาดความยาวโฟกัส 28-20 มม. 35-200 มม.  ดังนั้น  การเลือกใช้เลนส์ชนิดนี้จึงควรคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้งาน  และสะดวกเป็นสำคัญ  เพราะเลนส์ที่มีช่วงความยาวโฟกัสห่างกันมากเท่าใด  ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้น  และราคาก็จะสูงขึ้นไปด้วย
2.5 เลนส์ภาพถ่ายใกล้ (Macro lens)
เลนส์ถ่ายภาพใกล้หรือที่เรียกว่ามาโครเลนส์  เป็นเลนส์ชนิดที่สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ๆ ได้มากเป็นพิเศษ  ให้อัตราขยายของภาพได้ดีกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ  เหมาะสำหรับถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดเล็ก  เช่น  แมลง  ดอกไม้ เครื่องประดับ  หรือวัตถุอื่นๆ ที่ต้องการความคมชัดและให้เห็นรายละเอียดมาก  ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นทำไม่ได้  และยังสามารถใช้ถ่ายภาพทั่วๆ ไปได้เช่นเดียวกับเลนส์ชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดความยาวโฟกัสเท่ากัน
เลนส์มาโครมีขนาดความยาวโฟกัสหลายขนาด  ที่ใช้ทั่วไปมีตั้งแต่ 50มม. 55 มม. 85 มม. 105 มม.  โดยมีอัตราขยายของภาพมีอัตราส่วน  คือ 1:2 (ขนาดภาพที่ปรากฏบนฟิล์มจะมีขนาดครึ่งเท่าของวัตถุ)  หรือ 1:1 (ขนาดภาพที่ปรากฏบนฟิล์มจะมีขนาดกันกับวัตถุ)


ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มาโคร
จากเลนส์ทั้ง 5 ชนิดที่ได้กล่าวมา  เป็นเลนส์ที่นิยมใช้กันทั่วไป  อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเลนส์ให้มีความทันสมัย  และมีความสะดวกขึ้น  เช่น  มีการปรับระยะชัดแบบอัตโนมัติ (Auto focus)  การปรับเพิ่ม-ลดรูรับแสงอัตโนมัติ  การนำเอาระบบสะท้อนด้วยกระจกมาใช้เพื่อลดความยาวของเลนส์ถ่ายภาพระยะไกลที่มีความยาวโฟกัสสูงๆ ให้มีขนาดสั้นลง  หรือเลนส์มุมกว้างที่มีการแก้ระนาบภาพเอียง
ความไวแสงของเลนส์ (Lens Speed)
ความไวแสงของเลนส์  หมายถึง  ขนาดความกว้างของรูรับแสงเมื่อเปิดรูรับแสงกว้างที่สุด  เลนส์ที่สามารถเปิดรูรับแสงได้กว้างกว่า  แสดงว่าเลนส์ตัวนั้นมีความไวแสงมากกว่า  ซึ่งจะมีข้อได้เปรียบในการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย  และสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้เร็วกว่าเลนส์ที่มีความไวแสงน้อย แต่เลนส์ยิ่งมีค่าความไวแสงมาก  ราคาของเลนส์ก็จะสูงขึ้นไปด้วย  ดังนั้นจึงควรเลือกใช้เท่าที่จำเป็นและงบประมาณที่มี
ความกว้างของรูรับแสงจะมีตัวเลขบอกค่าไว้ที่กระบอกเลนส์  เรียกว่า เอฟ/สต็อป (f/stop) หรือ เอฟ/นัมเบอร์ (f/number) ซึ่งมีค่ากำหนดไว้  เช่น 1.2  1.4  4  5.6  8  11  22  ตัวเลขยิ่งมากเท่าใดรูรับแสงยิ่งแคบลง
นอกจากนี้  ผู้ศึกษาการถ่ายภาพควรศึกษาอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น  ไฟแฟลช  แว่นกรองแสง  ฟิล์ม  ขาตั้งกล้อง  เพื่อให้เข้าใจและพัฒนาทักษะในการถ่ายภาพต่อไป

         3. ช่องมองภาพ (View Finder) ปกติช่องมองภาพจะอยู่ด้านหลังของตัวกล้องเป็นจอมองภาพ เพื่อช่วยในการประกอบ และจัดองค์ประกอบของภาพ ให้มีความสวยงามตามหลักของศิลปะการถ่ายรูป
         4. ชัตเตอร์ (Shutter) ทำหน้าที่ควบคุมเวลาฉายแสง (Exposure Time) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไวของชัดเตอร์ (Shutter Speed)
         5. แผ่นไดอะแฟรม (Diaphram) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณความเข้มของการส่องสว่างของแสงที่ตกลงบนแผ่นฟิล์ม มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หลาย ๆ แผ่นซ้อนเหลี่ยมกันอยู่
         6. รูรับแสง (Aperture) เป็นรูเปิดของแผ่นไดอะแฟรมให้มีขนาดต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น เมื่อต้องการให้แสงเข้ามากก็เปิดรูรับแสงให้มีขนาดใหญ่ และทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการปริมาณแสงเข้าไปถูกฟิล์มน้อยก็เปิดรูให้เล็กลง การเปิดขนาดของรูรับแสงแตกต่างกันนี้มีตัวเลขกำหนดเอาไว้ ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นวงแหวน ติดอยู่ที่ตัวเลนส์เรียกตัวเลขต่าง ๆ ว่าเอฟสตอป (F-Stop) หรือ เอฟนัมเบอร์ (F-Number) นอกจากส่วนประกอบที่สำคัญ ๆ ของกล้องถ่ายรูปดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้ควรจะศึกษาปุ่มปรับและควบคุมต่าง ๆ ที่อยู่บนกล้องถ่ายรูป กล้องทั่ว ๆ ไปจะมีปุ่มควบคุมดังนี้คือ
          นอกจากส่วนประกอบที่สำคัญ ๆ ของกล้องถ่ายรูปดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้ควรจะศึกษาปุ่มปรับและควบคุมต่าง ๆ ที่อยู่บนกล้องถ่ายรูป กล้องทั่ว ๆ ไปจะมีปุ่มควบคุมดังนี้คือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น