หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Hot Shoe คืออะไร


Hot Shoe คือ ฐานเสียบแฟลช  ปกติจะมีขั่วสัมผัสระหว่างวงจรในตัวกล้อง แต่ละยี่ห้อจะมีขั่วที่ต่างกัน และสามารถใส่กับอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ไมโคโฟน (Microphone) ,ชุดส่งสัญญาณไฟแฟลช (Radio Slave Flash Trigger) ,ช่องมองภาพแบบ LCD , ที่วัดระดับน้ำทะเล


Hot Shoe ในอุปกรณ์กล้องดิจิตอลทั่วไป


 ไมโคโฟน                                                                                       Radio Slave Flash Trigger
 

Hot Shoe ของกล้อง DSLT ของ SONY ที่มีรูปร่างแตกต่างกับ Hot Shoe แคนนอน นิคอน
 

ช่องเสียบบางค่ายอาจมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทำให้เราต้องหา hot shoe adaptor มาต่อเสริม
ในปี 2556 เป็นไปได้ว่า hot shoe ที่ใช้ร่วมกับแฟลชนั้นจะเปลี่ยนมา hot shoe ตัวเดียวกันแทบทุกค่าย แต่ขั่วที่ออกมาขายนั้นยังเป็นค่ายใครค่ายมันอยู่

DSLT คืออะไร

DSLT มาจากคำว่า Single Lens Translucent ผู้ที่นำมาใช้กับกล้องดิจิตอลที่เปลี่ยนเลนส์ได้เป็นเจ้าแรก คือ บริษัท sony ซึ่งนำระบบ DSLT มาใช้แทนกล้อง DSLR เดิมของตัวเอง ด้วยเทคโนโลยี Translucent เทคโนโลยีใหม่ที่ยกเอากระจกสะท้อนภาพแบบเดิมที่เคยอยู่ใน DSLR ออกไปแล้วทดแทนมันด้วยกระจกที่สะท้อนแสงเพียง 30% ไปยังระบบออโต้โฟกัส และอีก 70 % ไปยังเซนเซอร์อยู่ตลอดเวลา ทำให้เปิดระบบ Live View พร้อม Auto focu และ ถ่าย VDO พร้อมโฟกัสติดตามวัตถุเคลี่อนไหว ได้ตลอดเวลา ทำให้กล้อง DSLT ที่มีกระจกโปร่งใส ทำให้โฟกัสได้รวดเร็ว แม่นยำ ทั้งนี้ด้วยระบบโฟกัสที่ได้เปรียบกว่า DSLR ทำให้การถ่ายภาพนิ่งและวีดีโอทำได้ง่ายกว่าระบบ DSLR อย่างมาก

ข้อดี

-  เปิดระบบ Live View พร้อม Auto focu ในภาพนิ่ง และ ถ่าย VDO พร้อมโฟกัสติดตามวัตถุเคลี่อนไหว ได้ตลอดเวลา
-  ช่องมองภาพแบบ DSLT นั้นรูปที่ออกมาจากช่องมองภาพจะเป็นภาพอย่างนั้นเลย ทำให้เราไม่ต้องกังวลว่าก่อนถ่ายและหลังถ่ายจะเป็นเช่นไร
-  โฟกัสได้แม่นยำกว่า
-  ถ่ายภาพต่อเนื่องได้รวดเร็วกว่า

ข้อเสีย

-  ความไม่เคยชินกับช่องมองภาพ ที่เป็น Electronic Viewfinder
-  แต่ยังมีข้อถกเถียงกันว่า แสงที่หายไปอีก 30 % นั้นทำให้คุณภาพของงานภาพนิ่งโซนี่สู้กล้องที่เป็น DSLR ไม่ได้จริงหรือ

Sonyได้นำเทคโนโลยี DSLT (Single Lens Translucent) มาใช้กับกล้อง Sony a33 และ Sony a55 เป็นตัวแรกๆ และยืนยันว่าตัวเองจะหันมาใช้ DSLT แทน DSLR ( กล้องรุ่นใหญ่ของ sony ต่อไปจะเป็น DSLT และการพัฒนาในรูปแบบการถ่ายวีดีโอคงเพิ่มขึ้นในอนาคต )


สมัยก่อน Canon เคยเอาระบบนี้มาใช้ แต่เป็นสมัยฟิล์ม คือรุ่น Canon EOS 1N RS แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่

ดูต่อไปว่าการพัฒนากล้อง DSLT ในอนาคตต่อไปจะเป็นเช่นไร แต่แน่ใจได้เลยว่างานวีดีโอที่มาจาก DSLT จะทำได้ดีกว่ากล้อง DSLR แน่นอน

กล้อง DSLT ที่อยู่ในท้องตลาดตอนนี้มี Sony a33,Sony a55,Sony a65,Sony a77, Sony a57

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

DSLR คืออะไร


DSLR มาจากคำว่า digital single lens reflex
เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวด้วยระบบดิจิตอล มีลักษณะเหมือนกล้องที่ใช้ฟิล์ม เพียงแต่ใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพแทนฟิล์ม
กล้อง D-SLR มักนำตัวกล้องที่ใช้ฟิล์มแบบ 35mm. SLR มาดัดแปลงให้เป็นกล้องดิจิตอล โดยเปลี่ยนฝาหลัง และแทนที่ฟิล์มด้วยเซ็นเซอร์รับภาพ ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
เซ็นเซอร์รับภาพ หรือเรียกว่า Image Sensor ใช้ในการรับสัญญาณภาพ แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัล
กล้อง DSLR เป็นกล้องระดับมืออาชีพที่นิยมใช้กัน คนที่ใช้ควรมีความรู้ในด้านการใช้กล้องดิจิตอลอยู่บ้าง จุดสำคัญสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ และใช้การมองผ่านเลนส์โดยตรงผ่านช่องมองภาพ ทั้งนี้โดยอาศัยการหักเหของแสง

กล้อง DSLR มีสองประเภท

1.  เป็นกล้องแบบตัวคูณทางยาวโฟกัส เป็นกล้องดิจิตอลที่มีเซนเซอร์เล็กกว่าฟิล์ม เมื่อเทียบกับฟิล์มทำให้ระยะต่างๆเมื่อเที่ยบฟิล์มมีระยะที่น้อยกว่า เช่นช่วงซูม 18 – 55 จะอยู่ในช่วงระยะฟิล์มคือ 28.8 – 88 มม. คูณด้วย 1.6 เท่า ( คูณกี่เท่านั้นขึ้นอยู่กับขนาดเซนเซอร์ของกล้องดิจิตอนที่ใช้ )

เซนเซอร์ตัวคูณ มีเซนเซอร์อยู่หลายขนาด แต่ละขนาดการตกกระทบของแสงก็มีการคูณที่ต่างกัน


เซนเซอร์ แต่ละขนาด

Pentax ได้ออกผลิตกล้องที่มีขนาด 1/2.3 (6.17 x 4.55 mm) ซึ่ง คูณด้วย 5.53 เท่าของความยาวโฟกัสเลนส์ คือ Pentax Q ซึ่งกล้องดิจิตอลตัวถัดๆมาก็ได้เปลี่ยนมาใช้ ขนาด APS-C แทนเพื่อต่อสู้กับขนาดเซนเซอร์ของคู่แข่ง

Pentax Q 

เซนเซอร์ของกล้อง Nikon 1 คูณด้วย 2.7 เท่าของความยาวโฟกัสเลนส์ มีเซนเซอร์ขนาดประมาณ 13.2 x 8.8 mm

Nikon V1

Micro Four Thirds คูณด้วย 2 เท่าของความยาวโฟกัสเลนส์ มีเซนเซอร์ขนาดประมาณ 17.3 x 13 mm ( Panasonic , Oly )

APS-C ขนาดเซนเซอร์ประมาณ 22x15 มิลลิเมตร เป็นเซนเซอร์ที่มีขนาดเล็กสุด บางยี่ห้อคูณด้วย 1.6 ( canon ,Nikon ) , 1.5 ( sony ) เท่าของความยาวโฟกัสเลนส์


APS-H ขนาดเซนเซอร์ประมาณ 29x19 มิลลิเมตร คูณด้วย 1.3 เท่าของความยาวโฟกัสเลนส์ เซนเซอร์เป็นกล้อง DSLR ระดับสูง เน้นความเร็ว ซูมไกล แต่คุณภาพดีกว่า APS-C ขึ้นมาหน่อย
แต่ความสามารถในการออกแบบ ในการถ่ายภาพต่อเนื่อง และความเร็วในการโฟกัสที่ดีขึ้น ทำให้กล้องรุ่นสูงๆ เปลี่ยนมาใช้ ระบบ Full Frame กันมากขึ้น


APS-H 

2.  แบบ Full Frame ( เซนเซอร์ขนาดเทียบเท่ากับฟิล์ม )

เซนเซอร์ขนาดประมาณ 36x24 มิลลิเมตร เป็นกล้องที่ใช้ระดับมืออาชีพ เพราะสามารถเก็บรายละเอียดของของแสงได้ดี (ไดนามิกเรนจ์ (Dynamic Rage))  ให้รายละเอียดของสีได้สูงกว่า ด้วยตัวรับแสงที่มีขนาดใหญ่ ทำให้สัญญาณรบกวน (NOISE) เกิดขึ้นได้น้อย มักใช้กับงานที่เน้นคุณภาพ มีราคาที่สูง และเลนส์ที่ใช้ไม่สามารถใช้ได้กับเลนส์บางชนิดได้ ช่างภาพมืออาชีพมักนิยมใช้กล้องแบบ Full Frame กัน

CMOS คืออะไร


CMOS - CMOS ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor เป็น Sensor ที่มีลักษณะการทำงานโดยแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาเป็น สัญญาณดิจิตอลในทันที ไม่ต้องส่งออกไปแปลงเหมือน CCD


Sensor CMOS 

CMOS มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า มีความรวดเร็ว และ ความร้อนเกิดได้น้อยกว่า CCD แต่ด้วยคุณภาพของภาพยังสู้ CCD ไม่ได้ มีสัญญาณรบกวนสูง
 
สมัยก่อน CMOS มักนำไปใช้กับกล้องดิจิตอลในระดับล่าง เพราะคุณภาพของภาพยังไม่ดีนัก ( แต่ในปัจจุบัน การพัฒนาเซนเซอร์ดีขึ้นอย่างมาก จึงไม่เป็นที่จำเป็นแล้วว่า จะ CCD หรือ CMOS ที่ดีกว่ากัน เพราะการรับแสงจากเซนเซอร์มีหลายปัจจัยในการได้คุณภาพที่ดีออกมา )
 

CCD คืออะไร


CCD - CCD ย่อมาจาก Charge Coupled Device เป็น Sensor ที่ทำงานโดยส่วนที่เป็น Sensor แต่ละพิกเซล จะทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่งเข้าสู่วงจรเปลี่ยนค่าอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกที ซึ่งการรับแสงเป็นไปได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสียพื้นที่ในการแปลงสัญญาณอย่าง CMOS ซึ่ง ตัวแปลงสัญญาณก็อยู่แยกกันทำให้สัญญาณลบกวนเกิดน้อยกว่า แต่ก็มีข้อเสียในด้านความร้อนและเปลืองพลังงาน
 
CCD 

CCD ทำมาจาก ซิลิคอนที่ทำขึ้นพิเศษ และมีกระบวนการผลิตมีความซับซ่อนมากกว่าทำให้ ทำให้ต้นทุนในการสร้างสูงกว่า ซึ่ง CCD มีแต่บริษัทใหญ่เท่านั้นที่มีเทคโนโลยีนี้ เช่น Sony Kodak etc.

CMOS - CMOS ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor เป็น Sensor ที่มีลักษณะการทำงานโดยแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาเป็น สัญญาณดิจิตอลในทันที ไม่ต้องส่งออกไปแปลงเหมือน CCD

CMOS

CMOS ทำจากซิลิคอนทั่วไป เช่นเดียวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป ทำให้ราคาถูกกว่า CCD ด้วย CMOS ต้องมีพื้นที่ในการแปลงค่าสัญญาณในตัวทำให้พื้นที่ในการรับแสงนั้นศูนย์เสีย ไป

ดังนั้นการแก้ปัญหานี้คือ ได้เพิ่มขนาดเซนเซอร์ CMOS ให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณพื้นที่รับแสงให้ดีขึ้น

สรุปง่ายๆคือ CMOS จะมีตัวรับแสงและแปลงสัญญาณในแต่ละพิกเซลเลย ส่วน CCD ตัวรับแสงจะรับแสงอย่างเดียว และจะส่งค่าที่ได้ออกมาให้วงจรที่มีหน้าที่แปลงสัญญาณอีกที

สมัยก่อน CMOS มักนำไปใช้กับกล้องดิจิตอลในระดับล่าง เพราะคุณภาพของภาพยังไม่ดีนัก ( แต่ในปัจจุบัน การพัฒนาเซนเซอร์ดีขึ้นอย่างมาก จึงไม่เป็นที่จำเป็นแล้วว่า จะ CCD หรือ CMOS ที่ดีกว่ากัน เพราะการรับแสงจากเซนเซอร์มีหลายปัจจัยในการได้คุณภาพที่ดีออกมา )

ADI คืออะไร

ADI (Advance Distance Integration)คือ ระบบวัดแสงแฟลชที่วัดปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาจากวัตถุและฉากหลัง และเอา ระยะทางที่ได้จากเลนส์เข้ามาในการคำนวนแสงด้วย ทำให้มีความเที่ยงตรงและลดความผิดพลาดในการสะท้อนแสงจากฉากหลัง
ระบบ TTL ต่างจากระบบ ADI อย่างไร โดยระบบทั้งสองนำเอาการสะท้อนของวัตถุที่ถ่ายมาคำนวนเหมือนกัน แต่ระบบ ADI จะนำเอาระยะของเลนส์เข้ามาคำนวนด้วย ทำให้ระบบแฟลช ADI จะเป็นที่นิยมใช้ในกล้องสมัยใหม่ ซึ่งถ้าเลนส์ตัวไหนไม่สามารถใช้ระบบแฟลช ADI ได้นั้นระบบกล้องจะเปลี่ยนมาใช้เป็น TTL ในการคำนวนแทน

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคแต่งหน้าในPhotoshop ใน YouTube

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพของประเทศไทย

ตึกพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ

       เดี๋ยวนี้กล้องถ่ายรูปมักจะเป็นของติดกระเป๋าของใครหลายๆ คนไปแล้ว ใครไม่มีกล้องต้องถือว่าเชย เพราะกล้องดิจิตอลสมัยนี้ราคาไม่แพงมากแถมยังตัวเล็กพกพาสะดวก ถ่ายปุ๊บเห็นรูปปั๊บ ไม่ชอบใจก็ลบทิ้งถ่ายใหม่ เสร็จแล้วโหลดลงคอมพิวเตอร์ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ยังใช้กล้องฟิล์มกัน ฟิล์มม้วนละเป็นร้อยบาท จะถ่ายเล่นพร่ำเพรื่อก็ต้องคิดกันหน่อย มักจะได้งัดเอาออกมาใช้ก็เฉพาะตอนมีงานพิเศษ หรือไปเที่ยวไหนต่อไหน ไม่ได้เอาไว้ถ่ายเล่นทุกสถานการณ์เหมือนกล้องดิจิตอลทุกวันนี้
       

       การเกิดของกล้องดิจิตอล ทำให้กล้องฟิล์มชักจะกลายเป็นของไม่จำเป็นเข้าไปทุกที ฉันจึงอยากจะพาไปย้อนอดีตกล้องฟิล์มกันอีกครั้งที่ "พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา" ที่ตั้งอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีตึกพิพิธภัณฑ์มองเห็นได้ชัดเจน ที่ตึกนี้บนชั้น 3 ถือเป็นสวรรค์ของคนรักกล้องถ่ายรูปเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะได้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพแล้ว ก็ยังมีกล้องนานาชนิดที่หาชมได้ยากยิ่งอีกด้วย
บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์
       และเพื่อให้ ได้อรรถรสในการชม ฉันขอแนะนำให้มีเจ้าหน้าที่นำชมจะดีที่สุด เพราะเดินชมเองอาจจะไม่รู้เรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสนุกสนาน ในวันนี้เจ้าหน้าที่พาฉันมารู้จักกับประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพในยุคก่อน ที่จะมีกล้องถ่ายภาพ ซึ่งยังต้องใช้กล้องรูเข็มในการบันทึกภาพ โดยหลักการก็คือ เมื่อเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด แล้วใช้กระดาษสีขาวเป็นตัวรับภาพ ภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวกลับ และช่างถ่ายภาพก็จะร่างภาพด้วยมือตามรูปที่เห็นบนกระดาษนั้น ก่อนจะมีพัฒนาการต่อมาโดยการใช้กระดาษที่เคลือบด้วยสารไวแสง ทำให้สามารถบันทึกภาพลงบนกระดาษได้ทันที แต่ภาพที่ออกมาก็ยังไม่มีคุณภาพดีนัก อีกทั้งยังไม่คงสภาพเดิมเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ
ตู้จัดแสดงกล้องถ่ายรูปของในหลวง ร.5 และ ร.7 รวมทั้งกล้องของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ
       ที่นี่ฉันได้ เห็นภาพถ่ายภาพแรกของโลกที่ถ่ายโดยชาวฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1826 เป็นภาพที่เขาถ่ายจากหน้าต่างบ้านตัวเองและใช้สารไวแสงฉาบลงบนแผ่นโลหะ ภาพนี้ใช้เวลาถ่ายนานถึง 8 ชั่วโมง โดยภาพที่ออกมาก็ยังเป็นภาพกระดำกระด่าง หากไม่เพ่งดีๆ ก็จะดูไม่ออก แต่เมื่อนำภาพนี้มาตั้งคอนทราสต์เสียใหม่ในปัจจุบัน ก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นภาพหลังคาบ้านเรือนต่างๆ ถือเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของโลก
    
       วิวัฒนาการของการถ่ายภาพยังมีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่กระบวนการถ่ายภาพที่คนสมัยก่อนใช้กันมากที่สุดก็คือ "กระบวนการดาแกโรไทป์" ที่พัฒนาขึ้นโดยนายหลุยส์ แจคกัวส์ มันเด ดาแกร์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งรูปถ่ายที่เขาพัฒนาขึ้นนั้นมีความคมชัดมากขึ้น และสามารถคงตัวเป็นรูปอยู่ได้นานมากขึ้นอีกด้วย กระบวนการถ่ายรูปแบบดาแกโรไทป์นี้แพร่หลายไปทั้งในฝรั่งเศสและทั่วยุโรปไปจน ถึงอเมริกา และไม่กี่ปีต่อมาก็ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาแพร่หลายในประเทศสยามด้วย
ตู้จัดแสดงกล้องโกดัก
       ในสมัยรัชกาล ที่ 3 เป็นช่วงที่การถ่ายภาพเริ่มแพร่เข้ามา แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมนักเนื่องจากยังติดความเชื่อที่ว่าการถ่ายรูปจะทำ ให้อายุสั้น แต่พอมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเปิดรับวิทยาการสมัยใหม่จากต่างประเทศเข้ามา หลายเรื่อง และเรื่องการถ่ายภาพก็เป็นเรื่องที่พระองค์โปรดเช่นกัน โดยได้ทรงฉายพระรูปส่งไปพระราชทานให้ประธานธิบดีของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันทางสหรัฐได้เก็บรักษาไว้อย่างดีที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน และทางพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ ก็ได้ไปขอก๊อปปี้พระบรมฉายาลักษณ์นั้นมาให้ชมกันอีกด้วย
    
       ต่อมาในรัชกาลที่ 5 การถ่ายภาพก็ยิ่งได้รับความนิยมยิ่งขึ้นไปอีก พระองค์เองถึงกับรับสั่งให้มีการสร้างห้องมืด สั่งกล้องออบสคูร่า เพลท เคมีต่างๆ เข้ามาใช้ในราชสำนักมากมาย อีกทั้งพระองค์ยังทรงเป็นช่างภาพเอง ดังที่เราได้เห็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์หลายๆ รูป และรัชกาลที่ 7 ก็เป็นอีกพระองค์หนึ่งซึ่งสนพระทัยทั้งการถ่ายภาพ และการถ่ายภาพยนตร์ ความสนพระทัยของพระองค์นั้นมีมากขนาดที่ว่าทรงออกแบบแก้ไขกล้องถ่ายภาพเสีย ใหม่เพื่อให้ตรงตามพระราชประสงค์ของพระองค์เลยทีเดียว โดยภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็ได้มีกล้องถ่ายภาพส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จัดแสดงไว้ให้ชมกันด้วย
กล้องฟิล์มตัวแรกของโลก
       ฉันฟังเจ้าหน้าที่เล่าถึงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการถ่ายภาพเสียเพลินจนมาหยุดอยู่ที่หน้าตู้จัดแสดงกล้องถ่ายภาพของ Kodak อันเป็นยุคเริ่มต้นของการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม โดยกล้อง Kodak ของอเมริกา เป็นกล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มตัวแรกของโลก และกล้องตัวแรกของโลกนั้นก็ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั่นเอง!!
    
       กล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มตัวแรกของโลกนี้เป็นแบบ Box Camera ดูๆไปก็คล้ายลำโพงขนาดเล็กสีดำ ไม่มีช่องมองภาพ ไม่มีชัตเตอร์ การถ่ายภาพก็คือการเปิดฝาให้แสงเข้าไปในกล้องและบันทึกลงบนฟิล์ม เวลาจะล้างฟิล์มก็ต้องยกกล้องทั้งตัวกลับไปที่ร้าน ทางร้านจะล้างฟิล์มให้และบรรจุฟิล์มม้วนใหม่ให้เจ้าของกล้องใช้ถ่ายกันต่อ
กล้องนิคอนทองคำ
       ในตู้นี้ยัง มีกล้อง Kodak อีกหลายรุ่นหลายแบบ ทั้งแบบหน้าตาโบร่ำโบราณมาจนถึงตัวเล็กหน้าตาคลับคล้ายคลับคลาว่าเคยเห็นใน ปัจจุบันก็มี
    
       นอกจากกล้อง Kodak แล้ว ก็ยังมีตู้จัดแสดงกล้องของทางประเทศญี่ปุ่นที่มีการพัฒนาคุณภาพได้ไม่แพ้ กล้องของทางอเมริกาหรือยุโรป ไม่ว่าจะเป็นกล้อง Nikon, Canon, Minolta, Konica, Mamiya, Yashicaฯลฯ ที่คนเล่นกล้องมาเห็นต้องตาลุก ยิ่งได้เห็นกล้อง Nikon ทองคำสีทองอร่ามโดดเด่นกว่ากล้องตัวอื่นๆ ยิ่งอยากจะครอบครองเป็นเจ้าของ กล้องทองคำนี้มีอยู่ 500 ตัวในโลก และมีอยู่ 3 ตัวในประเทศไทย ตัวหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แต่อีกสองตัวอยู่ที่ไหนใครอยากรู้ต้องไป ตามหาเอาเอง
กล้องถ่ายรูป Leica กล้องที่ว่ากันว่าดีที่สุดในโลก
       แค่ตาลุกยังไม่พอ คราวนี้ตากล้องต้องน้ำลายหกหากได้มายืนอยู่ตรงหน้าตู้จัดแสดงกล้อง Leica จากประเทศเยอรมัน ที่ถือว่าเป็นกล้องถ่ายรูปที่คุณภาพดีที่สุดในโลก ทั้งคุณภาพของเลนส์ ระบบแสง ระบบชัตเตอร์ กล้อง Leica ทำได้เหนือกว่ากล้องยี่ห้ออื่นๆ โดยสิ่งหนึ่งที่ทำให้ Leica เป็นกล้องถ่ายรูปคุณภาพสูงก็เพราะตัวเลนส์ทำมาจากแร่ควอร์ตซ์ที่มีความโปร่ง ใสต่อแสงอัลตร้าไวโอเลต และทำให้ภาพถ่ายมีความคมชัดสดใส และแน่นอนว่าราคาก็ย่อมแพงตามไปด้วย แต่ปัจจุบันกล้อง Leica ไม่ได้ใช้แร่ควอร์ตซ์ทำเลนส์กล้องทุกตัว แต่ก็ใช้กระจกคุณภาพสูงซึ่งทำให้ภาพออกมามีคุณภาพเช่นเดิม
Spy Camera กล้องเล็กจิ๋วสำหรับสายลับ
       กล้องของทาง ฝั่งประเทศรัสเซียก็น่าสนใจ เพราะเป็นกล้องต้นแบบของกล้องโลโม่ที่กำลังฮิตในปัจจุบัน และยังมีกล้องอีกหลายยี่ห้อในโลกที่เคยผลิตขึ้นแต่ปัจจุบันไม่มีให้เห็นอีก แล้วก็มี
    
       แต่กล้องที่ฉันชอบมากก็เห็นจะเป็นแบบ Fotosniper หรือกล้องที่ติดกับอุปกรณ์ช่วยถ่ายที่หน้าตาเหมือนปืนยาวเป็นที่สุด กล้องแบบนี้มักจะใช้กันในแถบประเทศรัสเซีย ตัวกล้องจะวางอยู่บนเครื่องมือที่หน้าตาคล้ายปืน แถมเวลากดชัตเตอร์ถ่ายภาพก็ยังต้องกดที่ไกปืน มีขาตั้งให้เรียบร้อยเพื่อกันการสั่นสะเทือน ผลพลอยได้ก็คือเอาไว้ข่มขวัญคนโดนถ่ายได้ดีทีเดียว
เลนส์ขนาดต่างๆ ที่ช่างภาพต้องอยากเป็นเจ้าของ
       กล้องอีกแบบหนึ่งที่ถูกใจฉันเป็นหนักหนาก็คือ Spy Camera กล้องสายลับที่ใช้กันในช่วงสงครามเย็น กล้องเหล่านี้หน้าตาน่ารัก บางอันดูเหมือนเครื่องเล่น mp3 บางอันทำเป็นรูปยางลบก้อนเล็กๆ บ้างทำเป็นรูปซองบุหรี่ เป็นกล้องส่องทางไกล สารพัดจะทำเอาไว้หลอกล่อเพื่อสืบข้อมูลลับ เห็นเล็กๆแบบนี้แต่ก็เป็นกล้องฟิล์มที่ต้องใช้ฟิล์มชนิดพิเศษ ซึ่งราคาของกล้องสายลับนี้จะแพงกว่ากล้องธรรมดากว่า 3 เท่า และตัวฟิล์มขนาดพิเศษนั้นก็จะราคาแพงกว่าตัวกล้องอีก 3 เท่า คิดจะเป็นสายลับก็ต้องจ่ายแพงกว่าชาวบ้านเขาหน่อย
แฟลชที่ใช้กันในสมัยก่อน
       นอกจากสิ่ง ต่างๆ ที่ฉันเล่าให้ฟังแล้วนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ก็ยังมีกล้องโพลารอยด์ กล้องพาโนรามา กล้องวิดีโอ กล้องดิจิตอลแบบที่ใช้กันในปัจจุบัน และกล้องทั้งตัวที่โดนผ่าพิสูจน์ให้เห็นถึงอุปกรณ์นับพันชิ้นที่อยู่ภายใน อุปกรณ์บางชิ้นเล็กกระจิ๋วเท่าปลายปากกา แต่หากขาดไปก็อาจทำให้ระบบภายในกล้องขัดข้องได้ นอกจากนั้นก็ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับกล้อง เช่น แฟลช ชัตเตอร์ เครื่องวัดแสง และอุปกรณ์ใช้ในห้องมืดมาจัดแสดงให้ชมกัน เรียกว่าครบเครื่องเรื่องกล้องถ่ายภาพ ที่แม้แต่ฝรั่งต่างชาติก็ยังต้องมาชมที่ประเทศไทยที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กัน เลยทีเดียว
  
       
          
       "พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ" ตั้งอยู่ในภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท นักเรียนนักศึกษา 10 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หากต้องการผู้นำชมให้ติดต่อล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดที่โทร.0-2218-5583
       

ข้อควรระวังในการนำเมมโมรี่ไปอัดภาพที่ร้าน


            ปัจจุบันกล้องดิจิตอลสะดวกสบายเมมโมรี่การ์ดลบแล้วมาถ่ายใหม่ได้สะดวกสบาย ค่าฟิล์มค่าล้างฟิล์มก็ไม่ต้องเสียประหยัดดี  ถ่ายเสร็จก็นำไปพิมพ์ภาพเองด้วยเครื่อง Inkjet  หรือส่งร้านอัดเลย  แต่อยากจะให้ผู้ใช้กล้องดิจิตอลทั้งหลายที่ส่งที่ร้านควรระวังคือ  ภาพที่ไปลุยถ่ายกันมาข้ามน้ำข้ามทะเลปีนเขาลงห้วยมาแสนจะลำบากพอนำเม มโมรีการ์ดไปที่ร้าน เอ ! ทำไมเรียกภาพไม่ได้  บางครั้งเอาการ์ดออกใส่ใหม่อีกทีกลายเป็น CARD ERROR เสียอีกภาพก็ไม่ได้  เกิดกรณีแบบนี้คงต้องหน้ามุ่ยกลับไป
            ดังนั้นอยากจะเตือนท่านที่ใช้กล้องดิจิตอลทั้งหลายว่า  ก่อนที่จะนำเมมโมรี่การ์ดไปที่ร้านโดยเฉพาะการ์ดที่มีความจุมากๆควรจะก็ อปปี้ไฟล์ภาพของท่านที่มิอาจประเมินค่าได้ลงในคอมพิวเตอร์ก่อน  หรือ  เขียนไฟล์เป็น CD ไว้ในกรณีที่มีคอมพ์ฯ  ถ้าไม่มีก็ควรจะล็อคการ์ดเสียก่อน เช่น MEMORY STICK  จะมีตัวล็อกอยู่ด้านเดียวกับคอนแทคที่มีทองแดง หรือ SD  จะมีตัวล็อคด้านข้างให้ทำการล็อคเสียก่อน  ส่วนการ์ดส่วนใหญ่จะล็อคไม่ได้ให้ทำการล็อคโดยดูภาพจากกล้องแล้วทำการเข้าไป ที่เมนูที่มีรูปกุญแจเพือทำการป้องกันการลบหรือข้อมูลสูญหายถ้าไม่ทำการปลด กุญแจนี้ก็จะลบภาพนั้นไม่ได้ให้ทำการใส่กุญแจทุกภาพเลยจะได้ไม่เสียภาพที่ ถ่ายมาไปโดยบังเอิญ  เพราะจะโทษทางร้านก็ไม่ได้เพราะตัวอ่านการ์ดการอ่านไฟล์ภาพยังทำตามมาตรฐาน การ์ดที่ออกกันมาหลายสิบยี่ห้อไม่ทัน  ดังนั้นเควรระวังรักษาภาพของเราก่อนที่จะนำไปอัดภาพเสียก่อนน่าจะเป็นทาง เลือกที่ดีกว่า  ไม่เหมือนกับฟิล์มที่เราเสียค่าล้างและเป็นมาตรฐานเดียวกัน  ส่วนผมตอนแรกๆก็จะก็อปปี้ภาพไว้ในคอมพ์ฯก่อนแล้วนำการ์ดไปที่ร้าน  บางที่คอมพ์แฮงค์เลยต้องฟอร์แมทฮาร์ดดิสภาพที่สะสมไว้เลยหายไปด้วย  ตอนหลังๆเลยเขียนเป็นซีดีจึงนำไปอัดเป็นภาพไม่เสียดายค่าแผ่นอีกแล้ว  ส่วนท่านที่ไม่มีเครื่องเขียนซีดี  ก็ต้องทำการล็อคการ์ดด้วยวิธีข้างต้นเสียก่อนจึงจะไปให้ที่ร้าน   กรุณาเขียน ซีดี เก็บไว้ก่อนเถอะครับอย่าเสียดายเลยภาพของท่านคงกลับไปถ่ายใหม่ได้แต่ความทรง จำดีๆในภาพนั้นคงเรียกกลับมาไม่ได้นะครับ

การจัดองค์ประกอบภาพสำหรับมือใหม่

การจัดองค์ประกอบภาพ
           หลายต่อหลายครั้งเมื่อเราได้เห็นภาพจากนักถ่ายภาพที่มีประสบการณ์ เรามักจะเกิดความรู้สึกว่า ทำไมภาพที่ออกมาช่างดูดี ทั้งๆที่บางครั้งกล้องที่เค้าใช้นั้นก็ไม่ได้เป็นกล้องโปร หรือเลนส์โปรแต่อย่างใด หากมองให้ดี นอกจากความสวยงามในภาพแล้ว สิ่งที่ถือว่าสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้ภาพดูดีได้ก็คือ องค์ประกอบภาพ การจัดองค์ประกอบภาพที่ดีนั้นจะช่วยให้ภาพที่ได้ออกมาดูน่าสนใจมากขึ้น ถึงแม้จะไม่มีสิ่งใดเป็นข้อบ่งชี้ว่า ภาพนั้นภาพนี้จัดองค์ประกอบภาพถูกหรือผิด แต่เราสามารถทำให้ภาพดูน่าสนใจได้ เพียงแค่เรารู้วิธีในการจัดวางตำแหน่งในภาพที่ดี ก็ช่วยให้สามารถพัฒนาความคิดวิธีการจัดองค์ประกอบให้เป็นในแบบของเราได้แล้ว.

ทำความเข้าใจเรื่องของกฎสามส่วน
         เป็น หนึ่งในกฎที่นิยมใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งทำความเข้าใจได้ง่ายและช่วยให้ภาพดูดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กฎสามส่วนนี้จะให้เราแบ่งภาพออกเป็นสามส่วนทั้งแนวนอนและแนวตั้งโดยมี พื้นที่เท่าๆกัน จะเกิดจุดตัดขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม เวลาถ่ายภาพก็ให้เรานำวัตถุที่ต้องการถ่าย วางไว้ตามจุดตัดที่เกิดขึ้นมาจะทำให้ภาพดูดีกว่าการนำวัตถุวางไว้แต่ตรงกลาง ของภาพ

สร้างฉากหน้าและฉากหลัง
           ทำ ให้ผู้ที่มาดูภาพรู้ว่าสิ่งใดคือฉากหน้าสิ่งใดคือฉากหลังโดยการ เลือกรูรับแสงกว้างๆ จะช่วยให้ภาพมีฉากหลังที่เบลอมากขึ้น หากต้องการให้เห็นถึงวัตถุรอบๆ ให้ใช้รูรับแสงที่แคบ และปล่อยให้ฉากหลังเล่าถึงสิ่งแวดล้อมของวัตถุในขณะนั้น. นอกจากนั้น การใช้ช่วงซูมมากๆ จะช่วยให้ฉากหลังกับวัตถุดูเป็นมิติมากยิ่งขึ้น

เลือกมุมมองที่ไม่เหมือนใคร
           การ มีมุมกล้องที่แปลกไปจากสายตาของคนทั่วไป ย่อมจะช่วยให้ภาพดีน่าสนใจ มีคำกล่าวไว้ว่าหากยืนถ่ายแล้วยังดูไม่ชอบก็ให้ลองนั่งคุกเข่าถ่าย และหากนั่งยังไม่ได้ ก็ให้นอนถ่ายไปเลย บางครั้งมุมกล้องสูงๆเช่น จากบันไดก็ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจได้อีกด้วย
เอาใจใส่ต่อสิ่งที่เข้ามาอยู่ในภาพ
           ทุกครั้งที่คุณยกกล้องขึ้นมาถ่ายขอให้คิดเสมอว่า "อะไร ที่คุณกำลังอยากให้เข้ามาอยู่ในภาพของคุณ จริงๆ" พยายามให้ความสนใจในสิ่งที่จะเข้ามาอยู่ในภาพ โดยการจัดตำแหน่งของวัตถุหลักให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและจากนั้นจึงมองไป รอบๆ เฟรมภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ต้องการให้เข้ามาในภาพของเรา

มองหาเส้นนำสายตา
           การ นำเส้นนำสายตาไปยังวัตถุที่เราต้องการ สามารถทำได้ง่ายๆหากคุณหมั่นสังเกตุสิ่งรอบๆ ตัวจะเห็นได้ว่าหลายสิ่งสามารถนำมาช่วยให้เป็นเส้นนำสายตาได้

นำแพททอร์นเข้ามาช่วย
          ไม่ ว่าจากธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้าง เราสามารถนำลวดลายเหล่านี้เข้ามาใช้เพิ่มความน่าสนใจได้ทั้งนั้น ตัวอย่างเช่น รูปคลื่นของบรรดานกที่กำลังบิน ลวดลายของท่อน้ำ ลายของกำแพง.

มองเข้าไปใกล้ๆ
          ลอง เล่นกับลักษณะของพื้นผิว รายละเอียด เช่นเปลือกต้นไม้ รอยหยักตามใบหน้าคน เหล่านี้จะบอกถึงสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาของสิ่งที่เราถ่ายได้ดี

หลุดจากกรอบภาพเดิมๆ
           ข้อดีของการใช้กล้องดิจิทัลคือคุณสามารถนำภาพมาแต่งในคอมพิวเตอร์ได้ คุณไม่จำเป็นต้องให้ภาพมีขนาดอยู่แค่ 4*6, 5*7 หรือ 8*10 ให้ ลองคิดว่าจะนำเสนออะไรในภาพ ส่วนที่ไม่ต้องการสามารถตัดออกได้ด้วยการคร๊อป ทั้งนี้อาจจะให้ภาพออกมาในลักษณะแนวนอนแบบพาโนราม่า หรือแนวตั้งก็ได้.
อย่าลืม ตัวแปรของการถ่ายภาพนั้นขึ้นอยู่ที่คุณ มุมมอง ความคิด จินตนาการ สามารถพัฒนาต่อไปเป็นสไตล์ของคุณได้ อย่าเพียงแค่ยึดติดกับมัน แล้วคุณจะสนุกกับการถ่ายมากยิ่งขึ้น.

ถ่ายภาพให้สวยด้วยกล้องดิจิตอลอย่างไร?

กล้องดิจิตอลแม้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับกล้องใช้ฟิล์ม คือ แสงแผ่นเลนส์ ผ่านรูรับแสง และม่านชัตเตอร์ ไปตกกระทบกับเซ็นเซอร์ภาพ (ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ CCD) ก่อนกดชัตเตอร์กล้องจะปรับโฟกัสและวัดแสง หรือจะปรับตั้งเองก็ได้ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ แต่ด้วยความที่เป็นดิจิตอล ทำให้ ปรับแต่ง ฟังก์ชั่น หรือลูกเล่นต่างๆ ได้มากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในกล้องใช้ฟิล์ม จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติม และ ทำความเข้าใจให้ดี จึงจะใช้กล้องดิจิตอลได้อย่างคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ และได้ประโยชน์สูงสุด
  1. ปิดสวิตซ์ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน กล้องดิจิตอล มีระบบการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทำให้สิ้นเปลืองแบตเตอรี่มาก ควรปิดสวิตซ์ทุกครั้งที่เลิกใช้งาน จะช่วยให้คุณถ่ายภาพได้มากขึ้น โดยไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยๆ หากมีฟังก์ชั่น Auto off ให้ตั้งเวลาปิดอัตโนมัติเมื่อไม่ได้ใช้งาน 30 หรือ 60 วินาที
  2. ใช้แบตเตอรี่ชาร์จดีกว่า กล้องดิจิตอลหลายรุ่นใช้แบตเตอรี่แบบ AA อัลคาไลน์ โดยแถมมาให้ด้วย 2 หรือ 4 ก้อน แต่คุณอาจตกใจเมื่อใส่แบตเตอรี่ใหม่เข้าไป กดชัตเตอร์ถ่ายไป 20-30 ภาพ โดยเปิดดูภาพ จากจอมอนิเตอร์ และใช้แฟลชถ่ายภาพ แบตเตอรี่ก็หมดเสียแล้ว ขอแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้แบตเตอรี่แบบ นิเกิล-เมทัลไฮไดร์ (NiMH) ซึ่งชาร์จไฟเพิ่มได้ ราคาก้อนละ 100-150 บาท เลือกแบบที่ให้กำลังไฟ 1000-1500 มิลลิแอมป์ จะถ่ายภาพได้นานขึ้น ถ้าหมดก็ชาร์จใหม่ ซื้อเผื่อไว้สัก 2-3 ชุดก็จะดี ส่วนกล้องที่แถมแบตเตอรี่ NiMH หรือ Li-ion มาให้อยู่แล้ว อาจซื้อเพิ่มอีกสักหนึ่งชุดเผื่อฉุกเฉิน
  3. ดูภาพในช่องมองออฟติคัล ในกล้องใช้ฟิล์มแบบ SLR หรือ คอมแพค เราจะมองภาพจากช่องมอง ซึ่งกล้องดิจิตอลก็มีเช่นกัน เรียกว่าช่องมองภาพออฟติคัล ออกแบบให้สัมพันธ์ กับทางยาวโฟกัส ของเลนส์ทุกช่วงซูม และยังดูภาพจากจอมอนิเตอร์แบบ LCD ทางด้านหลังได้ด้วย ทำให้ผู้ใช้นิยมดูภาพจากมอนิเตอร์แทน แต่วิธีนี้แบตเตอรี่จะหมดเร็วมาก ควรใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเช่น การถ่ายภาพมาโครระยะใกล้ๆ ซึ่งจะให้มุมภาพ ที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ถ้าถ่ายภาพไกลๆ ซัก 5 เมตรขึ้นไป ให้ดูจากช่องมองภาพ แบบออฟติคัลแทน
  4. เปลี่ยนไปใช้การ์ดความจุสูง การ์ดจัดเก็บภาพมีหลายแบบ เช่น CF, Microdrive, SmartMedia, Memory Stick, SD, MMD เป็นต้น ปัจจุบันมีความจุสูง และราคาที่ลดลง เช่น CF ความจุ 128 MB หาซื้อได้ในราคาเพียง 3,000-4,000 บาทเท่านั้น (สองปีก่อนราคา 17,000-20,000 บาท) ปัจจุบันการ์ด CF มีจำหน่ายในขนาด 512 MB แล้ว ต้นปีหน้าจะมีขนาด 1000 MB หรือ 1GB ตามออกมาอีกหลายยี่ห้อ หรือการ์ด Microdrive (ใช้แทนการ์ด CF ได้ในบางยี่ห้อ) ความจุ 340, 500 และ 1000MB ก็น่าสนใจ เพราะเทียบขนาดความจุแล้ว ถูกกว่ามากทีเดียว แต่เป็นการ์ดแบบฮาร์ดดิสก์ ต้องระวังอย่าให้ตกหล่นจะเสียหายได้ง่าย เมื่อการ์ดมีความจุสูง ก็จะช่วยให้ถ่ายภาพได้มากขึ้น ในบางครั้งเมื่อไม่แน่ใจเรื่องสภาพแสง อาจถ่ายภาพคร่อม เผื่อไว้หลายๆ ภาพ แล้วค่อยมาเลือกภาพที่ดีที่สุดภายหลัง
  5. อย่าใส่การ์ดขณะเปิดสวิตซ์กล้อง เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ควรใส่การ์ดขณะที่สวิตซ์กล้องถูกเปิดอยู่ และควรใส่การ์ดด้วยความระมัดระวัง ให้ใส่การ์ดเข้าไปตรงๆ ในด้านที่ระบุไว้ในคู่มือ หากใส่ผิดด้านจะใส่ไม่ได้ อย่าไปฝืนโดยเด็ดขาด หากจะให้ผู้อื่นยืมไปใช้ควรอธิบายให้เข้าใจด้วยทุกครั้ง
  6. ใช้แฟลชภายนอก กล้องบางรุ่นสามารถใช้แฟลชภายนอกได้ โดยเสียบเข้ากับฮอทชู หรือสายซิงค์แฟลช วิธีนี้ทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้นและใช้งานได้ไกลกว่าแฟลชขนาดเล็กที่ติดอยู่บน ตัวกล้อง การใช้แฟลช ที่มีกำลังไฟสูงภายนอก ทำให้ใช้รูรับแสงแคบได้ ส่งผลให้ภาพมีระยะชัดลึกมากขึ้น และ ประหยัดแบตเตอรี่ที่ตัวกล้อง เพราะไม่ต้องใช้แฟลชที่มีอยู่ในตัว
  7. ล็อคภาพสำคัญเอาไว้ กล้องบางรุ่นมีฟังก์ชั่นล็อคภาพ ป้องกันการลบโดยไม่ตั้งใจ เพราะส่วนใหญ่เน้นให้ลบภาพทิ้งได้ง่ายๆ เพื่อถ่ายภาพใหม่ต่อไป ทำให้เผลอลบภาพสำคัญทิ้งไป ดังนั้นหลังจากถ่ายภาพจนได้ภาพที่พอใจแล้ว ควรกดปุ่มล็อคภาพทุกครั้ง
  8. จัดเก็บภาพด้วยซีดีรอม หลังจากถ่ายภาพจนการ์ดเต็มแล้ว เรามักถ่ายโอนภาพทั้งหมด ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งภาพจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณจะมีมากแค่ไหน แต่ถ้าเกิดปัญหาเสียขึ้นมา ภาพที่คุณอุตส่าห์ถ่ายมาทั้งหมดก็จะสูญหายไปทันที เพื่อความปลอดภัย ควรบันทึกภาพลงแผ่นซีดี-รอม ซึ่งมีความจุ 650-700 MB ต่อแผ่น ราคา 20-30 บาทเท่านั้น ควรเลือกแผ่นซีดี ที่มีคุณภาพเช่น Kodak Fujifilm หรือ Sony ซึ่งมีความคงทนเก็บรักษาได้ยาวนานหลายสิบปี ส่วนเครื่องเขียนแผ่นซีดี ราคาลดลงมาก ประมาณ 4,000 บาทขึ้นไป และควรเขียนแผ่นซีดีไว้สองแผ่น เก็บรักษาไว้โดยไม่นำมาใช้งานหนึ่งแผ่น อีกแผ่นสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป ถ้าแผ่นซีดีเสียหายหรือสูญหายยังมีต้นฉบับอีกแผ่น นำมาก๊อปปี้เพื่อใช้งานได้อีก
  9. ซูมขยายภาพดูความคมชัด ฟังก์ชั่นดิจิตอลที่ผมใช้บ่อยคือ หลังจากถ่ายภาพไปแล้ว ให้กดปุ่มซูมขยายภาพขึ้นมาดู โดยซูมให้มากที่สุดจากนั้นเลื่อนดูส่วนต่างๆ ของภาพว่าคมชัดเพียงพอหรือไม่ บางครั้งการถ่ายภาพด้วยช่วงซูมเทเล แล้วเปิดรูรับแสงกว้าง ระยะชัดลึกจะน้อยมาก ทำให้ความคมชัด มีเฉพาะบางส่วนเท่านั้น หากเป็นกล้องใช้ฟิล์ม ต้องรอหลังจากล้างฟิล์มแล้ว ถึงจะรู้ว่า ภาพที่ได้ มีความคมชัดดีมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ ในกรณีที่ถ่ายภาพ ด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แล้วไม่มั่นใจว่า ภาพจะคมชัดเพียงพอ สามารถซูมขยายภาพขึ้นมาดูได้เช่นกัน
  10. ปรับความสว่างของจอมอนิเตอร์ หากคุณถ่ายภาพโดยวัดแสงให้พอดี แล้วพบว่า ภาพที่ปรากฎ บนจอมอนิเตอร์ มืดเกินไปหรืออันเดอร์ อย่าเพิ่งโทษว่าระบบวัดแสงผิดพลาด ลองโหลดภาพ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ แล้วเปิดภาพนั้นดู ขอแนะนำให้ใช้ซอพท์แวร์เปิดภาพที่แถมมาพร้อมกล้อง ถ้าพบว่าภาพสว่างพอดี แสดงว่า จอมอนิเตอร์มืดเกินไป ให้เลือกเมนูปรับเพิ่มความสว่างจนเท่ากับที่ปรากฎบนจอคอมพิวเตอร์
  11. ใช้กราฟฮีสโตแกรม กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีฟังก์ชั่น แสดงกราฟฮีสโตแกรมบนจอมอนิเตอร์ ทำให้ทราบได้ทันทีว่า ภาพที่ถ่ายไปแล้วมีโทนภาพดีมากน้อยแค่ไหน หากส่วนที่เป็นชาโดว์ (โทนมืด) หรือส่วนที่เป็นไฮไลท์ (โทนสว่าง) ไม่ดีพอ สามารถปรับแก้ไขโทน หรือ คอนทราสท์จากฟังก์ชั่นเมนู แล้วถ่ายภาพใหม่จนได้โทนภาพดีที่สุด แม้ว่าจะสามารถปรับแก้ไขโทนภาพจากซอพท์แวร์ตกแต่งภาพเช่น Adobe Photoshop ก็ตาม แต่การถ่ายภาพให้มีโทนภาพดีที่สุด โดยไม่ต้อง ปรับแต่ง หรือ ปรับเพียงเล็กน้อย จะให้ภาพที่ดีกว่า มีรายละเอียดครบถ้วน ตั้งแต่ส่วนสว่างที่สุด จนถึงมืดที่สุดในภาพ
  12. เลือกใช้ฟอร์แมท RAW หรือ TIFF กล้องดิจิตอลมักมีฟอร์แมทภาพให้เลือกใช้ 2 อย่างคือ JPEG เป็นการบีบอัดภาพให้มีขนาดไฟล์เล็กลง เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บภาพ มีข้อเสียคือคุณภาพลดลง การไล่เฉดสีไม่ดีพอ เพราะแสดงดีได้เพียง 24 บิต หากต้องการภาพคุณภาพสูงสุด ควรเลือกฟอร์แมท RAW หรือ TIFF ซึ่งจะไม่มีการบีบอัดข้อมูล อีกทั้งการ์ดจัดเก็บภาพในปัจจุบันมีความจุสูง และราคาที่ลดลงตามลำดับ ในอนาคตอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฟอร์แมท JPEG อีกต่อไป และฟอร์แมท RAW ยังสามารถ บันทึกภาพ ให้แสดงสีได้ 12 บิตต่อสีหรือ 36 บิต (RGB) การไล่เฉดสีจึงดีเยี่ยม ได้ภาพที่ดูเป็นธรรมชาติ เช่นเดียวกับการใช้ฟิล์ม ...............................................................

หลักการทำงานของกล้องดิจิตอล



หลักการทำงานของกล้องดิจิทัลมีความคล้ายคลึงกับกล้อง 35 มม. ที่ใช้ฟิล์มธรรมดาทั่วไป คือมีเลนส์ สำหรับรับแสงที่สะท้อนจากวัตถุ และมีรูปรับแสง (Aperture) ซึ่งสามารถปรับขนาดได้ มีชัตเตอร์สำหรับเปิดรับแสงในปริมาณและนานเท่าใด ส่วนความแตกต่างจะอยู่ที่ตัวรับแสงของกล้อง กล้องดิจิทัลใช้ตัวรับแสง ที่เรียกว่า CCD (Charge-Couply Device) ทำหน้าที่เป็นตัวรับแสงแทนฟิล์ม และ CCD นี้จะมีทาง ยาวโฟกัสที่สั้น ทำให้ได้มุมมองของภาพ (Angle of View) แคบ เนื่องจากตัวรับภาพมีขนาดที่เล็กกว่าฟิล์ม กล้องดิจิทัลมีการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ ของกล้อง 35 มม. คือ การล้าง อัด ขยาย เอาไว้ในขั้นตอนเดียวกัน แบตเตอรี่ที่ใช้ในกล้องดิจิทัลมี 2 แบบคือ แบตเตอรี่ที่ใช้ได้ครั้งเดียว ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก และ แบตเตอรรี่ที่นำกลับมาใช้งานได้อีกโดยการชาร์จ กล้องดิจิทัลจึงมีความสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่ากล้อง 35  มม. เนื่องจากกล้องดิจิทัลมีส่วนประกอบของการแสดงผลออกมาทางช่องมองภาพแบบ LCD ซึ่ง เปรียบได้กับช่องมองภาพของ กล้องแบบธรรมดา และหากเป็นกล้องดิจิทัลรุ่นใหม่ที่มีความละเอียดสูงจะมี ช่องมองภาพอยู่ทั้ง 2 แบบ คือ ช่องมองภาพแบบออปติคอลและแบบดิจิทัล การทำงานของกล้องดิจิทัล ประกอบด้วยระบบต่าง ๆ ดังนี้

1. ระบบซูมภาพในกล้องดิจิทัล
ระบบการซูมภาพในกล้องดิจิทัลมี 2 ชนิดคือ
      1.1 Digital Zoom เป็นการซูมที่มีอยู่ในกล้องทั่ว ๆ ไป ได้ภาพที่มีคุณภาพพอใช้ได้ แต่หากซูมภาพเข้ามามากเกินไปจะทำให้ความคมชัดของภาพลดลง เนื่องจากไม่ได้เป็นการซูมภาพอย่างแท้จริง แต่เป็นเพียงการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นเท่านั้น และการซูมภาพชนิดนี้จะมีระยะโฟกัสที่มีสามารถปรับแต่งได้
     1.2 Optical Zoom เป็นการซูมด้วยเลนส์ของกล้อง จะได้ภาพที่คมชัด และภาพไม่เบลอเมื่อซูมภาพเข้ามาในระยะใกล้ การซูมแบบ Opitcal นิยมใช้ในการถ่ายภาพระยะใกล้เพราะจะได้ภาพที่ออกมาชัดเจน มีความคมชัดทุกจุด


2. ตัวรับภาพ CCD และความละเอียดของภาพตัวรับภาพบนกล้องดิจิทัลมี 2 ชนิดคือ CCD (Charge-
    Couply Device) และ CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor)

กล้องดิจิทัลในปัจจุบันจะใช้ CCD เป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่เป็นตัวรับแสงของกล้องและรับรู้ระดับของความสว่างหรือเข้มของแสงเท่านั้น แต่ไม่สามารถรับรู้หรือแยกสีได้ CCD ที่รับรู้สีต่าง ๆ ได้จะต้องวาง ฟิลเตอร์ลงบนชิป กล้องระดับกลางหรือกล้องที่ใช้ทั่วไปนิยมใช้ฟิลเตอร์ RGB (Red Green Blue)  ซึ่งจะวางสลับกันเป็นตารางอย่างเป็นระเบียบ ตัวรับภาพ CCD ที่บันทึกได้นั้นเรียกว่า Bit Depth หรือ ค่าความชัดลึก กล้องดิจิทัลทั่วไปสามารถบันทึกค่าความลึกได้ที 24 บิต เช่น กล้องที่ใช้ฟิลเตอร์ RGB จะมีค่าความลึกอย่างละ 8 บิต ได้แก่ R=8 บิต G=8 บิต B=8 บิต ก็จะได้ค่าความลึกที่ 24 บิต โดยจะเรียกค่าความละเอียด เช่น 5 ล้านพิกเซล, 4.1 ล้านพิกเซล และ 3.34 ล้านพิกเซล จำนวนพิกเซลที่มากจะหมายถึงความคมชัดของภาพที่จะมีความคมชัดมากขึ้นตามไป ด้วย เนื่องจากสามารถบันทึกรายละเอียดของภาพได้มากขึ้น ซึ่งความละเอียดของภาพจะระบุในคู่มือการใช้งานกล้องดิจิทัล หรือตรวจสอบได้จากขนาดของภาพสูงสุดที่กล้องสามารถถ่ายได้ เช่น ภาพที่มีขนาด 2,048 x 1,536 เมื่อคูณขนาดทั้งแนวตั้งและแนวนอนทั้ง 2 เข้าด้วยกันจะได้ความละเอียดเท่ากับ 3,145,728 ซึ่งจะเป็นค่าพิกเซลโดยประมาณ คือมีความละเอียดประมาณ 3 ล้านพิกเซลความละเอียดของภาพจากกล้องดิจิทัลหมายถึงจำนวนพิกเซล(Pixel) ที่อยู่บนตัวรับภาพทั้งหมด ความละเอียดของภาพหรือพิกเซล เป็นการนำจุดที่เป็นสีหลายสีหลาย ๆ จุดมาต่อกันให้ได้เป็นภาพออกมา หากมองโดยทั่วไปจะไม่เห็นความแตกต่างว่าภาพเหล่านั้นมีจุดจำนวนมากต่อกัน อยู่ ในทางทฤษฎีเรียกภาพนี้ว่า ภาพแบบ Raster หมายถึงภาพที่นำเอาเม็ดสีจำนวนนับหมื่นนับแสนมาเรียงต่อกันแล้วเกิดเป็นรูป และเมื่อขยายภาพเหล่านั้นออกมาจะพบว่ามีเม็ดสีจำนวนมากเรียงกันอยู่ ส่วนภาพอีกลักษณะหนึ่งจะเป็นภาพที่เรียกว่า ภาพแบบ Vector ซึ่งจะไม่มีอยู่ภายในกล้องดิจิทัล เพราะเป็นภาพที่เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา เมื่อขยายภาพเข้ามาในระยะใกล้ ๆ จะไม่พบอาการแตกของภาพเลย เนื่องจากภาพแบบ Vector เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ไม่ได้เกิดจากพิกเซลเหมือนกับภาพแบบ Raster

ความละเอียดของภาพจะเป็นตัวกำหนดประเภทของกล้องดิจิทัลได้ 4 ระดับคือ

1. กล้องความละเอียดต่ำมาก มักจะเป็นกล้องรุ่นเก่า หรือ กล้องประเภท WebCam ซึ่งมีความละเอียด
    ไม่เกิน 3 แสนพิกเซล
2. กล้องความละเอียดต่ำ มีความละเอียดอยู่ที่ประมาณ 3 แสน – 1.5 ล้านพิกเซล
3. กล้องความละเอียดปานกลาง เป็นกล้องที่มีราคาอยู่ในระดับปานกลาง ภาพถ่ายมีคุณภาพพอใช้ได้ มีความละเอียดอยู่ที่ 2.1 – 4 ล้านพิกเซล
4. กล้องความละเอียดสูง มีความละเอียดมากกว่า 4 ล้านพิกเซล ตัวกล้องมีราคาค่อนข้างสูงและมีคุณภาพดี


3. ค่าความไวแสงและความเร็วชัตเตอร์ค่าความไวแสงของกล้องหรือ ISO นั้นจะเป็นความไวในการเปิดรับแสง

โดยที่ตัวเลขของ ISO มากก็จะมีค่าความไวแสงที่มากตามไปด้วย ถึงแม้ว่าค่า ISO ที่มีค่ามาก ๆ นั้นจะช่วยให้เราสามารถถ่ายภาพในที่ที่มีแสงสว่างน้อย ๆ ได้ แต่มีข้อจำกัดคือ เมื่อนำภาพที่ได้มาขยายดูก็จะเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก ทำให้ภาพที่มีความหยาบพอสมควรความเร็วชัตเตอร์ ชัตเตอร์มีหน้าที่เป็นตัวกำหนดการเปิด-ปิดของรูรับแสงว่าจะให้มีการเปิด-ปิดนานมากน้อยเพียงใดเพื่อให้แสงผ่าน การเปิด-ปิดชัตเตอร์นี้เรียกว่า ความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งจะวัดเป็นเศษส่วนของวินาที เช่น 1/50 วินาที หรือ 1/500 วินาที ความเร็วของชัตเตอร์ที่มีจำนวนส่วนมากจะเป็นตัวช่วยให้จับการเคลื่อนไหวของภาพที่
 ถ่ายให้หยุดนิ่งได้ เช่น การถ่ายภาพรถที่กำลังวิ่งอยู่บนถนน ส่วนความเร็วชัตเตอร์ที่มีส่วนต่ำ เช่น การ ถ่ายภาพการไหลของน้ำ การถ่ายภาพที่มีความเร็วชัตเตอร์ต่ำควรใช้ขาตั้งกล้องในขณะถ่าย เพราะช่วง  เวลาในการเปิดรับแสงจะนาน หากมือไม่นิ่งพอจะทำให้เกิดการเบลอของภาพได้



 4. การนำภาพออกจากกล้องดิจิทัลการนำรูปภาพที่ถ่ายมาใช้งานมีวิธีการทำหลายวิธีขึ้นอยู่กับประเภท

    ของกล้อง กล้องที่ใช้หน่วยความจำแบบภายในที่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ จะต้องเชื่อมต่อโดยตรง

    จากกล้องสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้

        1. Docking Station เป็นพอร์ตที่มีการถ่ายโอนข้อมูลสมัยแรกที่มีการเริ่มใช้กล้องดิจิทัล มีลักษณะเป็นฐานสำหรับเสียบตัวกล้องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในยุคนั้นยังไม่มีการเก็บข้อมูล
ประเภท  Flash Memory ซึ่งในปัจจุบันเลิกใช้การถ่ายโอนข้อมูลแบบนี้แล้ว

        2. FireWire Port (IEEE1394) เป็นพอร์ตที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Apple แต่ผู้ผลิตรายอื่น ๆจะเรียกชื่อต่างกันไป เช่น บริษัท Sony ตั้งชื่อว่า iLink ส่วนชื่อเรียกมาตรฐานสากลคือIEEE1394 แต่ถ้าใช้กับกล้องดิจิทัลวีดีโอจะเรียกว่าพอร์ต DV ทั้งนี้พอร์ตดังกล่าวสามารถใช้งานร่วมกันได้ภายใต้มาตรฐานที่ได้ กำหนดขึ้นมาพอร์ต FireWire เป็นพอร์ตความเร็วสูง นิยมใช้ในกล้องวีดิโอดิจิทัล DV และกล้องถ่ายภาพดิจิทัลระดับสูง เนื่องจากมีความเร็วสูงถึง 400 ล้านบิตต่อวินาที (400Mbits/s) มีคุณสมบัติ Plug & Play สามารถต่ออุปกรณ์ได้ 63 ชิ้นต่อ 1 พอร์ต แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กับกล้องดิจิทัลเนื่องจากราคาแพงและคอมพิวเตอร์ทั่วไปมักจะไม่มีพอร์ต FireWire หากต้องการใช้ต้องติดตั้งการ์ด FireWire เพิ่มอีก

        3. USB port (Universal Serial Port) เป็นพอร์ตที่นิยมใช้กับกล้องดิจิทัลมากที่สุดในปัจจุบันเนื่องจากมีความเร็วสูง สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 12 ล้านบิตต่อวินาที(12Mbits/s) และมีคุณสมบัติ Hotplug คือสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านทางพอร์ต USB  ได้ทันทีโดยไม่ต้องปิดเครื่องก่อน

4. Parallel Port เป็นการเชื่อมต่อสำหรับกล้องดิจิทัลรุ่นเก่า ๆ เพราะมีความเร็วต่ำในการส่งผ่านข้อมูล
ทำให้เสียเวลาในการ Upload และ Download ข้อมูลในแต่ละครั้งเป็นอย่างมาก จึงไม่เป็นที่นิยมใช้ มากนัก
5. Serial port เป็นพอร์ตแบบเก่า มีความเร็วในการเชื่อมต่อต่ำ นิยมใช้ต่อกับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการความเร็วมากนัก เช่น โมเด็ม และเมาส์ ความเร็วสูงสุดที่ทำได้อยู่ที่ 115,200 บิตต่อวินาที Serial port จะอยู่  บริเวณด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นช่องสี่เหลี่ยมคางหมู มีขา 9 ขา (9 pin) อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตแบบนี้จะต้องรีสตาร์ตเครื่องก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถมองเห็นอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ได้ ทำให้ยุ่งยากในการใช้งาน จึงไม่เป็นที่นิยมใช้

6. SCSI Port เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้การ์ด SCSI เป็นตัวกลางการเชื่อมต่อ มีความเร็วและเสถียรภาพใน
การทำงานสูง แต่มีค่าใช้จ่ายสูง

7. Card Adapter เป็นการเชื่อมต่อที่ต้องใช้การบันทึกแบบ Flash Memory สามารถถอดเปลี่ยนได้

    ถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางเครื่องอ่าน Flash Memory หรือที่เรียกว่า Card Adapter ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในขณะนี้เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย การบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก และราคาไม่สูงนักกล้องดิจิทัลที่มีการบันทึกข้อมูลลงบนตัวเก็บข้อมูลประเภท Flash Memory สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้ 2 แบบคือ การส่ง ข้อมูลโดยตรงจากกล้องเข้าคอมพิวเตอร์โดยตรง และการนำ Flash Memory มาอ่านข้อมูลผ่านทางเครื่องอ่าน Flash Memory ชนิดนั้น ๆ วิธีการรับ-ส่งข้อมูลจากกล้องดิจิทัลไปยังคอมพิวเตอร์นั้นเรียกว่า Download และ Upload การ Download เป็นการส่งข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังดึงข้อมูลมาจากกล้องดิจิทัล ส่วนการ Upload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังกล้องดิจิทัล

วิธีเลือกซื้อกล้องดิจิตอล

 
  1. งบประมาณ ก่อนอื่นต้องมาดูกันว่า คุณจะตั้งงบไว้สักเท่าใด ในการหาซื้อกล้อง ดิจิตอลสักตัว เพราะราคาในตลาดมีตั้งแต่กล้องแบบง่ายๆ ราคาไม่กี่พันบาท ซึ่งทำ อะไรไม่ได้มากนัก ที่พอใช้ได้จะเริ่มจากหมื่นต้นๆ ไล่เรียงลำดับไปตามสเปค และ คุณภาพที่ดีขึ้น จนถึงหลักแสนหรือหลายๆ แสน เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น สองหมื่นบาท ก็มองหาเฉพาะกล้องที่อยู่ในงบของเรา รุ่นที่มีราคาสูงกว่า คงไม่ต้องนำมาพิจารณา ให้ปวดหัว


     
  2. เซ็นเซอร์ภาพ ถ้าดูตามสเปคมักจะ เขียนว่า Image sensor หรือ Image recording พูดง่ายๆ ก็คือ อุปกรณ์ ที่ใช้รับภาพแทนฟิล์มนั่นเอง บางยี่ห้อใช้ CMOS แต่ส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดใช้ CCD ขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่ใหญ่กว่าย่อมได้เปรียบ เพราะเก็บรายละเอียดได้มาก แต่ราคาก็แพงกว่า อาจจะดูจากสเปคว่าใช้ CCD ขนาดเท่าใดเช่น 1/1.8 นิ้ว, 1/2.7 นิ้ว หรือ 2/3 นิ้ว (วัดตามแนวทแยงมุม)

     
  3. ความลึกของสี หรือ Bit Depth บางทีก็เรียก Color Depth ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด ก็จะเก็บรายละเอียด ของเฉดสีได้ดีมากขึ้น เช่น 10 บิต/ สี หรือ 12 บิต/สี หมายความว่า สีธรรมชาติ มี 3 สีคือ RGB ถ้า 1 สี แสดงได้ 13 บิต 3 สีก็จะได้ 36 บิต เป็นต้น ถ้าเป็นกล้องระดับไฮเอนด์ อาจจะทำได้ถึง 16 บิต/สี หรือ 48 บิตที่ RGB นั่นก็เทียบเท่ากับฟิล์ม สไลด์ดีๆ นี่เอง แต่ไม่รู้ว่าทำไมมีกล้องบาง ยี่ห้อ บางรุ่นเท่านั้น ที่เปิดเผยว่ากล้องของตัวเอง มีระดับความลึกของสีเท่าใด ยิ่งถ้าเป็นกล้องที่สเปคต่ำเช่น 8 บิต/สี (อันที่จริงก็เยอะแล้ว เพราะ จะได้ 24 บิตที่ RGB แสดงสีได้ 16.7 ล้านเฉดสี) แทบไม่อยากจะพูดถึงกันเลย แต่ถ้ากล้องระดับโปร มักจะโชว์ตัวเลขให้เห็นจะๆ เลยว่าใครได้มากกว่ากัน การที่เฉดสีน้อย จะทำให้การแยกสีไม่ดีเท่าที่ควร เช่น กลีบดอกไม้สีแดงเข้ม แดงปานกลางและแดงอ่อน ดูด้วยตาเปล่า ก็ไล่เฉดสีกันดี แต่ถ่ายออกมากลายเป็นสีแดงสีเดียว ถ้าใช้ฟิล์มสไลด์จะได้ใกล้เคียงกับที่ตาเห็น (สไลด์โปรจะทำได้ดีกว่า)

     
  4. ดูความละเอียดต้องดูที่ Effective เวลาซื้อกล้องดิจิตอล เรามักจะได้ยินคน บอกว่า ตัวนี้ 3 ล้านพิกเซล ตัวนี้ 4 ล้านพิกเซล แต่ส่วนใหญ่ เป็นความละเอียดของเซ็นเซอร์ภาพ ขนาดภาพจริงจะน้อยกว่านั้น ลองดูสเปคในคู่มือ หรือโบรชัวร์ หาคำว่า Effective ซึ่งก็คือขนาดภาพจริงๆ ที่จะได้ เช่น ในโบรชัวร์บอกว่า 5.24 ล้านพิกเซล แต่ตามสเปคระบุชัดว่า ขนาดภาพใหญ่สุดที่ได้คือ 2560 x 1920 พิกเซล ถ้าคูณดูก็จะได้ 4.9 ล้านพิกเซล เป็นต้น

     
  5. Interpolate ในกล้องบางรุ่น ถ้า เราดูที่ขนาดภาพตามสเปค อาจจะแปลกใจ เพราะคูณออกมาแล้ว ได้ความละเอียดมากกว่าเดิมเช่น CCD 3 ล้านพิกเซล แต่ได้ขนาดภาพถึง 6 ล้านพิกเซล ทั้งนี้เป็นเพราะ มีการใช้เทคโนโลยีบางอย่าง เพิ่มความละเอียดให้สูงขึ้นนั่นเอง เช่น Super CCD ของ Fuji หรือ HyPict ของ EPSON เป็น ต้น แต่คุณภาพจะดีไม่เท่ากับความละเอียดแท้ๆ ของ CCD แต่ก็จะดีกว่ากล้องรุ่นที่มีความละเอียดแบบ Effective เท่ากัน อย่างไรก็ตามก็นับว่า เป็นการเพิ่มคุณภาพให้ดีกว่าเดิม โดยใช้เทคโน โลยีมาช่วย ต่างกับการนำภาพ ไปเพิ่มความละเอียด ด้วยซอพท์แวร์เช่น Adobe Photo shop ซึ่งคุณภาพจะแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเพิ่มความละเอียดถึง 1 เท่าแบบนี้ วิธีการนี้เรามักจะเรียกกันว่า Interpolate ซึ่งกล้องที่มีฟังก์ชั่นเหล่านี้ จะมีเมนูให้เลือกว่าจะใช้หรือไม่

     
  6. ปรับลดขนาดภาพ แม้ว่ากล้องที่มี ความละเอียดสูงจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องไม่ลืมว่า ขนาดไฟล์ที่ได้จะใหญ่มาก กินแมมมอรี่ในการ์ดมาก ถ้าการ์ดความจุน้อยๆ เช่น 16 MB ใช้กล้อง 3 ล้านพิกเซล ถ่ายไปไม่กี่ภาพก็เต็มแล้ว ต้องใช้การ์ดที่มีความจุสูงๆ บางครั้งเราต้องการเพียงแค่ บันทึกเตือนความจำ หรือใช้ส่งอีเมล์ หรือไม่ก็ใช้ประกอบเวบไซต์ ซึ่งต้องมาลด ความละเอียด ด้วย Photoshop หรือโปรแกรมอื่นๆ ให้เหลือ แค่ 640 x 480 พิกเซล หรือเล็กกว่านั้น แต่กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ จะเลือกขนาดภาพได้หลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับงาน ที่จะนำไปใช้ เช่นกล้อง Olympus E-20 เลือกขนาดภาพได้ 5 ระดับ เล็กสุดที่ 640 x 480 พิกเซล เป็นต้น

     
  7. การตอบสนองหรือ Response อันนี้ กล้องดิจิตอลเกือบทั้งหมด ไม่ยอมระบุไว้ใน สเปคกล้องของตัวเอง ยกเว้นกล้องคอมแพค ระดับไฮเอนด์ หรือดิจิตอล SLR จะถือว่าเป็นจุดเด่น เอามาคุยไว้ในโบรชัวร์กันเลยครับ บางรุ่นตอบสนองตั้งแต่ เปิดสวิตซ์กล้องแล้ว พร้อมที่จะกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวินาที แทบไม่ต่างกับกล้อง ออโต้โฟกัส 35 มม.ที่ใช้ฟิล์มทีเดียว ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกว่า ใช้กล้องดิจิตอลหรือใช้ฟิล์ม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้มีการพัฒนา ที่ดีขึ้นตามลำดับ ต่อไปกล้องดิจิตอลราคาประหยัด ก็จะมีการตอบสนอง ที่รวดเร็วไม่แพ้กล้องไฮเอนด์ ที่มีราคาแพง

     
  8. Buffer ยิ่งมากยิ่งดี การที่มีบัฟเฟอร์ หรือหน่วยความจำในตัวกล้องมากๆ จะ ช่วยให้การถ่ายภาพ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว กล่าวคือ หลังจากที่เรากดชัตเตอร์ ถ่ายภาพไปแล้ว ข้อมูลภาพ ที่ผ่านอิมเมจโปรเซสซิ่ง จะถูกพักเก็บไว้ก่อนด้วยบัฟเฟอร์ ก่อนที่จะบันทึกลงในการ์ดต่อไป (ขณะบัน ทึกมักใช้ไฟสีเขียวหรือสีแดง กระพริบเตือนให้ทราบ) วิธีนี้ทำให้เราถ่ายภาพต่อไปได้เลย ไม่ต้องรอบันทึกลงการ์ดให้เสร็จเสียก่อน ถ้าบัฟเฟอร์เยอะ ก็จะถ่ายต่อเนื่อง ได้ เร็วและได้หลายๆ ภาพติดต่อกัน เช่น สเปคกล้องระบุว่า ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 3 ภาพต่อวินาที ติดต่อกันรวดเดียว 10 ภาพ หมายถึงว่าถ้าครบ 10 ภาพจะกดชัตเตอร์ต่อไม่ได้ เพราะบัฟเฟอร์เต็มแล้ว ต้องรอให้บันทึกลงการ์ดก่อน เมื่อมีที่ว่างเหลือพอก็จะถ่ายภาพต่อได้อีก โดยไม่ต้องรอให้เก็บภาพ ลงการ์ดครบทั้ง 10 ภาพก่อน และการที่มี บัฟเฟอร์มากเมื่อกดชัตเตอร์ไปแล้ว สามารถเปิดดูภาพซูม ขยายดูส่วนต่างๆ ของภาพหรือลบภาพทิ้งได้ทันที แทบไม่ต้องรออะไรเลย

     
  9. ไฟล์ฟอร์แมท RAW กล้องระดับ ไฮเอนด์ที่มีความละเอียดสูง จะมีฟอร์แมทที่ เรียกว่า RAW ให้เลือกนอกเหนือจาก JPEG หรือ TIFF ทั้งนี้เพราะในฟอร์แมท RAW จะเก็บข้อมูลความลึกของสีได้ดีกว่า เช่นดิจิตอล SLR ของ Nikon รุ่น D1x ในไฟล์ ฟอร์แมท RAW จะได้ 12 บิต/สี แต่ถ้าเป็น JPEG จะเหลือ 8 บิต/สี เป็นต้น และยังมีไฟล์ขนาดเล็กกว่าฟอร์แมท TIFF โดยที่คุณภาพไม่ได้ลดลงเหมือนกัน แต่การเปิดชมภาพ ต้องใช้กับซอพท์แวร์ ที่มาพร้อมกับกล้องเท่านั้น ไม่สามารถเปิดจากโปรแกรม Adobe Photoshop หรือโปรแกรมตกแต่ง ภาพอื่นๆ นอกจากนี้ภาพในฟอร์แมท RAW ยังสามารถปรับแต่ง หรือ แก้ไขภาพ ที่ถ่ายมาไม่ดีให้ดี เหมือนกับการถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง เช่น การปรับภาพให้สว่างหรือมืดลง หรือ การปรับไวท์บาลานซ์ เป็นต้น สำหรับคอม แพคดิจิตอลในปัจจุบันมีหลายรุ่นที่มีฟอร์ แมท RAW เช่น Canon PowerShot G3, Nikon Coolpix 5700 เป็นต้น

     
  10. ไวท์บาลานซ์หรือสมดุลย์แสงขาว ฟังก์ชั่นนี้มีในกล้องดิจิตอลทุกรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาเราจะรู้จัก ไวท์บาลานซ์ในกล้องวีดีโอ ซึ่ง ใช้ CCD รับภาพเช่นกัน ส่วนใหญ่จะมี ระบบปรับไวท์บาลานซ์อัตโนมัติ ทำให้ภาพ ถ่ายมีสีสันถูกต้อง ไม่ว่าจะถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือสภาพแสงอื่นๆ ที่มีอุณหภูมิสีแตกต่างกัน ถ้าเป็นกล้องใช้ฟิล์ม ซึ่งสมดุลย์กับแสงกลางวัน ที่มีอุณหภูมิสี 5000-5500 องศาเคลวิน จะได้ภาพที่มีสีถูกต้อง เมื่อถ่ายภาพด้วยแสงกลางวัน หรือ แสงแฟลชเท่านั้น ถ้าอยู่ในที่ร่มอุณหภูมิสีจะสูงภาพจะมีโทนสีฟ้า หรือช่วงเย็นอุณหภูมิสีต่ำ ภาพจะมีโทนสีส้มแดง แต่กล้องดิจิตอล จะให้สีถูกต้องเสมอ และยังมีระบบ Preset ให้ปรับตั้งตามสภาพแสงแบบต่างๆ อีก แต่ละรุ่นเลือกได้ไม่เท่ากัน เช่น แสงดวงอาทิตย์ แสงในที่ร่ม แสงจากไฟฟลูออเรส เซ้นท์ในอาคาร แสงไฟทังสเตน เป็นต้น กล้องบางรุ่น มีระบบถ่ายภาพคร่อมไวท์บาลานซ์ โดยจะถ่ายภาพ 3 หรือ 5 ภาพติดต่อกัน แต่ละภาพ มีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน จากนั้นเลือกเก็บไว้ เฉพาะภาพที่มีโทนสีถูกต้อง สมจริงมากที่สุด หรือจะปรับแก้อุณหภูมิสี ด้วยซอพท์แวร์ที่แถมมา พร้อมกับกล้องก็ได้

     
  11. กล้องคอมแพคดิจิตอลรุ่นเล็ก ราคาประหยัด จะใช้เลนส์เดี่ยว ซูมไม่ได้ เช่น 35 มม. ดีขึ้นมาหน่อยจะซูมได้ 2-3 เท่า เช่น 35-70 มม. หรือ 35-105 มม. เป็นต้น ตัวเลขนี้เป็นการเทียบกับกล้องใช้ฟิล์ม 35 มม. แต่ถ้าดูที่ตัวเลนส์จริงๆ จะระบุตัวเลขน้อยกว่ามาก ทั้งนี้เพราะ CCD ขนาด เล็กกว่าฟิล์มมากนั้นเอง เช่น Minolta Dimage 7i หรือ 7Hi ใช้เลนส์ 7.2-50.8 มม. เทียบเท่ากับ 28-200 มม. ถ้าเป็นเลนส์ซูมที่เริ่มต้นด้วยมุมกว้างมากกว่า จะใช้ประโยชน์ในที่แคบๆ ได้ดีกว่า เช่น เริ่มที่ 28 มม. หรือ 30 มม.

     
  12. ดิจิตอลซูม ลูกเล่นที่มีก็ดีไม่มีก็ ไม่เป็นไร เวลาดูโฆษณา กล้องดิจิตอลว่า ซูมได้มากน้อยแค่ไหน ให้ดูที่ Optical Zoom ซึ่งจะบอกไว้ในสเปค เช่น 3X ก็คือ 3 เท่า นับจากเลนส์ช่วงกว้างสุด เช่น 30-90 มม. และบอกต่อว่ามีดิจิตอลซูม 2X รวมแล้วซูมได้ 6X คือ 30-180 มม. แต่ในความเป็นจริงช่วงซูมที่ดิจิตอลสูงสุด 180 มม. นั้น ขนาดภาพจะเล็กลงด้วย เช่น ความละเอียด 3 ล้านพิกเซล ถ้าซูมที่ดิจิตอลจะเหลือแค่ 1.5 ล้านพิกเซล เป็นต้น ไม่ใช่ว่าซูมได้มากๆ โดยที่ความละเอียดเท่าเดิม หากคุณใช้ Optical ซูม 3 เท่า ถ่ายภาพที่ 3 ล้านพิกเซล แล้วเอารูปมา ครอปหรือตัดส่วนให้เหลือ 1.5 ล้านพิกเซล เท่ากับว่ารูปนั้นถูกถ่ายด้วยเลนส์ซูม 6 เท่าเช่นกัน แต่ถ้าใช้ดิจิตอลซูม ตั้งแต่แรก ก็จะสะดวกขึ้นบ้าง ตรงที่ไม่ต้องมาตัดส่วนภาพทีหลัง และกล้องดิจิตอล บางรุ่น เมื่อใช้ดิจิตอลซูม คุณภาพจะไม่ลดลง (ลดแต่ขนาดภาพ) ต่างกับกล้องวีดีโอ ยิ่งซูมดิจิตอลมากเท่าไหร่ก็หยาบมากขึ้น เพราะเอาภาพที่มีอยู่แล้ว มาขยายใหญ่นั่นเอง แต่บางรุ่นใช้วิธีตัดส่วนภาพแล้วขยายไฟล์ ให้มีขนาดใหญ่เท่าเดิม วิธีนี้คุณภาพ จะลดลงแน่นอน

     
  13. จอมอนิเตอร์ อยากจะเรียกว่า อุปกรณ์เปลืองแบตเตอรี่ เพราะส่วนนี้ใช้ พลังงานจากแบตเตอรี่มาก ขนาดไม่ได้ใช้เปิดจอทิ้งไว้ไม่นาน แบตเตอรี่ที่ซื้อมาใหม่ หรือชาร์จมาเต็มๆ ก็หมดลงอย่างรวดเร็ว กล้องดิจิตอลที่ดี ควรจะปรับความสว่างได้ และแสดงสีได้ถูกต้องตามธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการสีกับคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ภาพสีเป็นไปอย่างราบรื่นถูกต้องตรงกันมากที่สุด จอมอนิเตอร์ ที่ให้สีผิดเพี้ยน (แม้ว่าภาพจะให้สีถูกต้อง เมื่อเปิดจากคอม พิวเตอร์) จะดูแล้วชวนหงุดหงิดคิดว่า รูปจะออกมาเพี้ยนตามจอ อย่าลืมดูสเปคด้วยว่า มีฟังก์ชั่นซูมภาพที่ถ่ายไปแล้วได้หรือไม่ และซูมขยายภาพได้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งมากยิ่งดี ถ้าได้ถึง 100% จะดีที่สุด เพราะเห็นภาพ ได้เต็มๆ ว่าแต่ละจุดคมชัดแค่ไหน ระยะชัดลึกครอบคลุมหมดหรือเปล่า ถ้าไม่ดีจะได้ถ่ายใหม่ กล้องบางรุ่น เช่น Sony DSC-F717 ออกแบบให้พลิกตัวกล้องกับเลนส์ได้ ทำให้สะดวกในการถ่ายภาพมุมสูง หรือ มุมต่ำ บางรุ่นพลิกหมุนได้รอบ เช่น Canon G3 กล้องบางรุ่น ใช้จอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่มาก เช่น 2.5 นิ้ว ในขณะที่ส่วนใหญ่ มีขนาดเพียง 1.5 หรือ 2 นิ้ว ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า บางรุ่นแถมฮูดบังแสงมาให้ด้วย โดยออกแบบเป็น บานพับ เช่น Panasonic DMC-LC5 หรือ Fujifilm FinePix M603 เป็นต้น

     
  14. บันทึกเสียงลงในไฟล์ภาพได้ ลูก เล่นนี้มีเฉพาะในกล้องบางรุ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่ จะบันทึกได้นาน 5-15 วินาที ซึ่งก็พอเพียงกับการเตือนความทรงจำต่างๆ สามารถเปิดฟังก็ได้เ มื่อใช้โหมดเปิดชมภาพ จากจอมอนิเตอร์ หรือ จากคอมพิวเตอร์

     
  15. Optical Viewfinder ในเมื่อการ ดูภาพจากจอมอนิเตอร์สิ้นเปลืองแบตเตอรี่มาก เราก็ควรมาดูภาพจากจอแบบออฟติคัล แทน เพราะใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากการซูมให้สัมพันธ์ กับทางยาวโฟกัสของเลนส์ แต่กล้องบางรุ่น ไม่มีช่องมองภาพแบบนี้มาให้ จึงควรดูสเปคให้ดีด้วย ข้อเสียของช่องมองภาพ ออฟติคัล คือ ไม่ได้มองภาพผ่านเลนส์ เวลาถ่ายภาพใกล้ จะเกิดการเหลื่อมล้ำกัน ต้องดูภาพด้านบน ไม่ให้เกินเส้นขีดที่แสดงไว้ ถ้าต้องถ่ายภาพใกล้ ก็อาจใช้วิธีดูภาพ จากจอมอนิเตอร์แทนจะดีกว่า แต่กล้องบางรุ่น จอมอนิเตอร์มีไว้เพื่อดูภาพที่ถ่ายไปแล้ว กับดูเมนูต่างๆ เท่านั้น

     
  16. วีดีโอคลิป กล้องถ่ายภาพนิ่ง ดิจิตอลแบบคอมแพคส่วนใหญ่ ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย รูปแบบคล้ายกับกล้องวีดีโอ แต่มักมีภาพขนาดเล็กมาก เช่น 320 x 240 พิกเซล แต่บางรุ่นเช่น Fuji FinePix S602 หรือรุ่น M603 ถ่ายวีดีโอได้ขนาด 640 x 480 พิกเซล หรือขนาด VGA เท่า กับกล้องวีดีโอทั่วไป บางรุ่นถ่ายภาพเคลื่อน ไหวอย่างเดียว แต่บางรุ่นบันทึกเสียงได้ด้วย ฟอร์แมทภาพมีทั้งแบบ MPEG และ Quick Time โดยถ่ายภาพที่ความเร็ว 10-15 ภาพ/ วินาที ขนาดไฟล์เล็กมาก เหมาะสำหรับ ใช้ส่งภาพไปทางอีเมล์ ภาพที่ได้จะดูกระตุกนิด หน่อย สำหรับรุ่นที่สเปคระบุว่า ถ่ายวีดีโอที่ ความเร็ว 30 เฟรม/วินาที ภาพจะดูนุ่มนวล เป็นธรรมชาติ ไม่ต่างกับกล้องวีดีโอทั่วๆ ไป และส่วนใหญ่จะถ่ายเป็นวีดีโอคลิปสั้นๆ ไม่เกิน 30 หรือ 60 วินาทีต่อครั้ง บางรุ่นถ่าย ภาพได้นานตามจำนวนความจุของการ์ด

     
  17. ระบบโฟกัส กล้องดิจิตอลเกือบ ทุกรุ่นเป็นระบบออโต้โฟกัส ทำงานได้รวด เร็วไม่แตกต่างกันมากนัก บางรุ่นมีจุดโฟกัสเฉพาะตรงกลางภาพ แต่บางรุ่นมี 3 หรือ 5 จุด กระจายอยู่ทั่วทั้งภาพ ไม่ว่าตัวแบบ หรือสิ่งที่ต้องการจะอยู่ในตำแหน่งใด ก็จะ ปรับโฟกัสได้อย่างแม่นยำ โดยกล้องจะเลือกจุดโฟกัสอัตโนมัติ หรือเลือกเองก็ได้ แต่บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้ระบบแมนนวลโฟกัส เพื่อผลพิเศษบางอย่าง ระบบแมนนวลโฟกัส มักจะให้เลือกตัวเลขระบุระยะโฟกัสเอง ซึ่งผิดพลาดได้ง่าย กล้องบางรุ่นมีวงแหวนหมุนปรับโฟกัส จะแม่นยำกว่า คล้ายกับกล้อง SLR นอกจากนี้มีโหมดอินฟินิตี้ (สัญลักษณ์รูปภูเขา) สำหรับการถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ระยะไกล กล้องจะถ่ายภาพได้เร็วขึ้นเพราะไม่ต้องปรับหาโฟกัสอีก และควรพิจารณา ดูโหมดถ่ายภาพมาโครด้วยว่า มีหรือไม่ แม้ว่ากล้องบางรุ่น จะระบุว่าถ่ายได้ใกล้สุดเพียงไม่กี่เซ็นติเมตร แต่เป็นการถ่ายภาพที่ช่วงซูมมุมกว้าง (เหมือนกล้องวีดีโอ) ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ไม่ดี เท่ากับมาโครที่ช่วงเทเล ลองซูมเลนส์ที่ช่วงเทเลดู แล้วถ่ายภาพใกล้ๆ ดูว่าได้มากน้อยแค่ไหน

     
  18. ระบบแฟลช กล้องคอมแพค ดิจิตอลส่วนใหญ่มีแฟลชขนาดเล็กในตัว ทำงานอัตโน มัติ เมื่อแสงน้อยเกินไป และมีระบบแฟลช กับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ทำให้การใช้แฟลช ถ่ายภาพเวลากลางคืน ฉากหลังไม่ดำทึบ หรือระบบสัมพันธ์แฟลช ที่ม่านชัตเตอร์ที่สอง เพื่อการใช้เทคนิคพิเศษถ่ายภาพ เคลื่อนไหว ระบบแฟลชแก้ตาแดง เมื่อใช้ถ่ายภาพคน ในระยะใกล้ แบบตรงๆ แต่จะดีมากถ้าสามารถใช้แฟลชภายนอกได้ ซึ่งกล้องบางรุ่นจากผู้ผลิตกล้องใช้ฟิล์ม เช่น Canon PowerShot G3, Minolta Dimage 7Hiและ Nikon CoolPix 5700 จะมีฮอทชูเสียบแฟลชมาด้วย สำหรับนำแฟลชของกล้อง 35 มม. มาใช้ เป็นการเสริมประสิทธิภาพของกล้องให้สูงมากยิ่งขึ้น

     
  19. ระบบบันทึกภาพ สำหรับฟังก์ ชั่นการถ่ายภาพจะไม่แตกต่างกับกล้องใช้ฟิล์มมากนัก ส่วนใหญ่มีระบบโปรแกรมอัตโนมัติเป็นหลัก โดยกล้องจะเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงที่เหมาะสม ถ้าแสงน้อยก็จะปรับความไวแสงให้สูงขึ้น (เลือกโหมดความไวแสงที่ออโต้) ทำให้ใช้งานง่าย ถ้าหากคุณมีความรู้เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพ ก็อาจใช้โหมดออโต้ชัตเตอร์ ออโต้รูรับแสง หรือแมนนวล และในระบบอัตโนมัติยังมีฟังก์ชั่นปรับชดเชยแสง กรณีที่ต้องถ่ายภาพย้อนแสง หรือ ภาพที่มีฉากหลังมืดทึบ เพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงพอดี นอกจากนี้ยังมี ระบบถ่ายภาพคร่อม โดยกล้องจะถ่ายภาพต่อเนื่อง 3 หรือ 5 ภาพ ในแต่ละภาพ มีค่าแสงที่แตกต่างกัน ตามที่กำหนดไว้ บางรุ่นมีระบบถ่ายภาพซ้อนด้วยเพื่อสร้างสรรค์ ภาพพิเศษบางอย่าง

ส่วนประกอบของกล้องดิจิตอล



ส่วนประกอบหลัก ๆ ของกล้องดิจิทัล มีดังนี้
1. ตัวกล้อง มีลักษณะเป็นกล่องทึบแสงซึ่งมีหน้าที่ไม่ให้แสงสว่างผ่านเข้าไปยังตัวกล้องได้ ตัวกล้องมีขนาดแตกต่างกันไปตามคุณภาพและราคาของกล้อง
2. เลนส์ กล้องดิจิทัลส่วนใหญ่จะไม่สามารถถอดหรือเปลี่ยนเลนส์ได้ แต่หากกล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้จะมีราคาแพงและมักใช้งานในระดับมืออาชีพ เลนส์จะทำหน้าที่ถ่ายทอดแสงสะท้อนจากวัตถุเข้ามายังตัวรับแสงของกล้อง วัสดุที่ใช้ในการทำเลนส์มี 2 ชนิดคือ พลาสติกและแก้ว ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งคุณภาพและราคา
     2.1 เลนส์พลาสติก ซึ่งมีราคาถูก ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพต่ำ มักจะใช้ในกล้องรุ่นเก่า

     2.2 เลนส์ที่ทำจากแก้ว มีความใสมากกว่าเลนส์พลาสติก สามารถซูมได้ทั้งแบบ Digital Zoom
           และ Optical Zoom จะได้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด

3. ช่องมองภาพ เพื่อใช้มองภาพและจัดองค์ประกอบของภาพแล้วถ่ายภาพได้ทันที นอกจากนี้ยังมีช่อง
    มองภาพที่เป็นจอ LCD ติดอยู่กับตัวกล้อง ทำงานเช่นเดียวกับช่องมองภาพธรรมดา ภาพที่ปรากฏ จะเหมือนกับภาพที่ถ่ายออกมาได้ทุกประการ ช่องมองภาพมี 2 ชนิดคือ

     3.1 ช่องมองภาพแบบเล็งแล้วถ่าย (Optical Viewfinder) เป็นช่องมองภาพแบบที่ใช้ในกล้องราคาถูก
           ให้ภาพที่ละเอียดไม่มากนัก การใช้งานสามารถเล็งได้โดยตรงจากช่องมองภาพแล้วออกไปได้ทันที
           กล้องดิจิทัลที่มีช่องมองภาพแบบนี้จะเป็นกล้องดิจิทัลอัตโนมัติ ไม่ต้องปรับแต่งค่ามากนักก็สามารถเล็ง
           ผ่านช่องแล้วกดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพได้ทันที

     3.2 ช่องมองภาพแบบจอ LCD (Liquid Crystal Display) เป็นช่องมองภาพที่สะดวกต่อการใช้งาน
           เป็นอย่างยิ่งสำหรับกล้องดิจิทัล เพราะสามารถมองผ่านทางจอ LCD แล้วจัดองค์ประกอบของภาพได้ และยังสามารถเลือกภาพที่ได้ถ่ายไปแล้วขึ้นมาดูได้ทันที หากไม่พอใจก็สามารถลบภาพออกได้ ทำให้ไม่เสียเวลาในการถ่ายและเลือกภาพที่ต้องการ จอ LCD จะมีขนาดและคุณภาพแตกต่างกันตามราคาและยี่ห้อของกล้อง หากเป็นจอคุณภาพต่ำจะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านข้างหรือ มองจากพื้นที่ ๆ มีแสงสว่างมาก ๆ ข้อจำกัดของจอ LCD คือสิ้นเปลืองพลังงาน ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในกล้องดิจิทัลเสื่อมเร็วเมื่อเปิดจอ LCD ไว้ตลอดเวลา ดังนั้น ควรปิดหน้าจอ LCD ไว้ขณะที่ไม่ได้ใช้งาน



4. แบตเตอรี่ การทำงานของกล้องดิจิทัลต้องอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่หรือพลังงานจากหม้อแปลงไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่ใช้กับกล้องดิจิทัลมีหลายประเภท ดังนี้
     4.1 แบตเตอรี่แบบอัลคาไลน์ AA มีอายุการใช้งานไม่นานนัก เนื่องจากกล้องดิจิทัลส่วนใหญ่มีจอภาพLCD ซึ่งใช้พลังงานสูง
     4.2 แบตเตอรี่แบบ NiCD เป็นแบตเตอรี่ที่เก็บไฟได้น้อยและใช้งานได้ไม่นานนัก จึงไม่นิยมใช้แม้ว่าจะมีราคาถูก แต่สามารถชาร์จไฟและนำมากลับมาใช้ได้อีก แต่การชาร์จไฟนั้นจะต้องรอให้ใช้งานจนหมดก่อนจึงทำการชาร์จได้
     4.3 แบตเตอรี่แบบ NiMH เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากน้ำหนักเบา เก็บไฟได้นาน สามารถชาร์จได้ทันทีและบ่อยครั้งโดยไม่ต้องรอให้แบตเตอรี่ หมดก่อน คุณภาพดี ราคาไม่แพง และหาซื้อได้ง่าย
     4.4 แบตเตอรี่แบบ Li-ion เป็นแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและราคาแพง เนื่องจากมีน้ำหนักเบาเก็บกระแสไฟได้นานและมากกว่าแบตเตอรี่แบบ NiMH สามารถชาร์จไฟได้ทันทีที่ต้องการ นิยมใช้
กับกล้องที่มีราคาแพงและคุณภาพสูงนอกจากแบตเตอรี่แล้ว ที่ชาร์จแบตเตอรี่นับเป็นอุปกรณ์เสริม
สำคัญต่อการใช้งานกล้องดิจิทัล ที่ชาร์จแบตเตอรี่มี 2 ชนิดคือ การชาร์จแบบเร็ว คือใช้เวลาชาร์จเพียง
2-3 ชั่วโมง แต่ประจุไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าไปจะไม่เต็มที่นัก การชาร์จแบบช้า ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยถนอมแบตเตอรี่มากกว่าและเกิดความร้อนน้อยกว่าแบบเร็ว


5. หน่วยความจำ เปรียบเทียบได้กับฟิล์มของกล้องถ่ายภาพธรรมดา หน่วยความจำทำหน้าที่ในการบันทึก ภาพถ่ายที่ได้จากกล้องดิจิทัลลงบนหน่วยความจำของตัวกล้องซึ่งมี 2 ประเภท ดังนี้
    5.1 หน่วยความจำภายใน มีหน้าที่เก็บข้อมูลของภาพลงในตัวกล้อง เมื่อต้องการโอนถ่ายข้อมูลรูปภาพออกมาใช้งานต้องทำการต่อสายออกจากตัวกล้องผ่านทางพอร์ตต่าง ๆ ที่ตัวกล้องใช้งานอยู่แล้ว ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพริ้นเตอร์ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้
    5.2 หน่วยความจำภายนอก ส่วนใหญ่กล้องดิจิทัลจะใช้หน่วยความจำประเภท Flash Memory ซึ่งเป็นตัวเก็บข้อมูลขนาดเล็ก หน่วยเก็บข้อมูลที่นิยมใช้อยู่ในกล้องนั้นจะมี Compact Flash และ Smart
Card ซึ่งมีความจุในการเก็บข้อมูลต่างกันออกไปตามราคา โดยส่วนมากจะเก็บข้อมูลได้ต่ำที่สุด 16 เมกะไบต์
    5.3 หน่วยความจำแบบอื่น ๆ จะใช้งานแตกต่างกันไปตามยี่ห้อของกล้อง ได้แก่
        5.3.1 CompactFlash เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่พัฒนามาจากมาตรฐานของ PC Card
                 (PCMCIA) พัฒนาขึ้นโดยบริษัท SanDisk มีขนาด ประมาณกล่องไม้ขีดขนาดเล็ก และใช้
                 เทคโนโลยี Flash ในการเก็บข้อมูล
        5.3.2 Ultra CompactFloash พัฒนาโดยบริษัท SanDisk เป็นหน่วยความจำ Flash ความเร็ว
                 สูงถึง 2.8 เมกะไบต์ต่อวินาที ทำให้สามารถนำไปใช้ งานกับกล้องดิจิทัลประสิทธิภาพสูงได้เป็นอย่างดี สามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากกว่า CompactFlash ธรรมดาถึง 2 เท่า
        5.3.3 Memmory Stick พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Sony ปัจจุบันมี 2 แบบคือ Memmory Stick
                 ขนาด 21.5x50x2.8 มิลลิเมตร น้ำหนัก 4 กรัม และขนาด 20x31x1.6 มิลลิเมตร น้ำหนัก 2 กรัม ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 2MB/s สำหรับการบันทึกและ 2.45 MB/s สำหรับการอ่านข้อมูล
        5.3.4 SmartMedia พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Tochiba เป็นหน่วยความจำแฟลช SSFDC
                 (Solid State Floppy Disk Card) ขนาด 37x45x0.76 มิลลิเมตร น้ำหนักเพียง 1.8 กรัม
                 แต่มีข้อเสียคือหน้าสัมผัสการอ่านข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการเสียหายของข้อมูลได้ง่ายกว่าFlash Memory ชนิดอื่น ๆ
        5.3.5 Secure Digital (SD) ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Matsushita Electronic
                  Industrial มีขนาด 24x32x2.1 มิลลิเมตร น้ำหนัก 2 กรัม มีความเร็วแสงในการส่งผ่านข้อมูล 10 MB/s
       5.3.6 Multimedia Card (MMC) ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่าง SanDisk Corporation
                 และ Siemens มีขนาดเล็กที่สุดเพียง 24x31x1.4 มิลลิเมตร น้ำหนักน้อยกว่า 2 กรัม นิยมใช้ในกล้องดิจิทัลและอุปกรณ์เล่นเพลง MP3 หรืออุปกรณ์พกพาอีกหลายชนิด
 



6. ปุ่มควบคุมการทำงาน มีหน้าที่จัดการกับลักษณะของภาพถ่าย จะทำงานคู่กับเมนูการทำงานที่จะแสดงผลออกทางจอ LCD กับตัวกล้อง ซึ่งกล้องแต่ละตัวก็จะมีการทำงานของปุ่มควบคุมการทำงานและเมนูควบคุม  การทำงานที่ต่างกันออกไป กล้องราคาถูกแบบอัตโนมัติจะมีปุ่มควบคุมการทำงานไม่มากนัก แต่หากเป็นกล้องราคาแพงและประสิทธิภาพสูงจะมีปุ่มการทำงานมากและมีการทำงานที่ซับซ้อนมากยึ่งขึ้น

7. ชัตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวเปิดและปิดหน้ากล้องในการรับแสงว่าจะเปิดให้แสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านได้นานเท่าใด โดยส่วนมากชัตเตอร์ของกล้องดิจิทัลจะสามารถ กดได้ 2 ระดับคือ การกดชัตเตอร์แล้วยกขึ้นทันทีซึ่งเป็นการหาตำแหน่งโฟกัสของภาพ และการกดชัตเตอร์ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาทีเป็นการเปิดหน้ากล้องเพื่อทำการถ่ายภาพจริง ๆ